มาตรา 9 บัญญัติว่า “ความตกลงหรือความยินยอมของผู้เสียหายสำหรับการกระทำที่ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จะนำมาเป็นเหตุยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดเพื่อละเมิดมิได้”
ตามบทบัญญัตินี้ บุคคลผู้ที่ได้รับความเสียหายจะตกลงหรือให้ความยินยอมยกเว้น (คือ การที่ผู้ก่อความเสียหายไม่ต้องรับผิดเลย) หริอจำกัดความรับผิด ( คือ การที่ผู้ก่อความเสียหายยังต้องรับผิดอยู่บ้างแต่ไม่ทั้งหมด) เพื่อละเมิดของผู้ก่อความเสียหายไม่ได้ หากความเสียหายที่ผู้ก่อความเสียหายได้ก่อให้เกิดขึ้นนั้น เกิดจาการกระทำที่ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
การวินิจฉัยคดีเกี่ยวกับผลบังคับของข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม
มาตรา 10 บัญญัติว่า “ในการวินิจฉัยว่าข้อสัญญาจะมีผลบังคับเพียงใดจึงจะเป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณี ให้พิเคราะห์ถึงพฤติกรณีทั้งปวง รวมทั้ง
(1)
-ความสุจริต
-อำนาจต่อรอง
-ฐานะทางเศรษฐกิจ
-ความรู้ความเข้าใจ
-ความสันทัดจัดเจน
-ความคาดหมาย
-แนวทางที่เคยปฏิบัติ
-ทางเลือกอย่างอื่น และ
-ทางได้เสียทุกอย่างของคู่สัญญาตามสภาพที่เป็นจริง
(2)ปกติประเพณีของสัญญาชนิดนั้น
(3)เวลาและสถานที่ในการทำสัญญาหรือในการปฏิบัติตามสัญญา
(4)การรับภาระที่หนักกว่ามากของคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเมื่อเปรียบกับคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง”
ตามบทบัญญัตินี้ กำหนดแนวทางในการวินิจฉัยคดีเกี่ยวกับสภาพบังคับของข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมว่าจะมีผลบังคับเพียงใดจึงจะเป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณี อันได้แก่กรณีตามมาตรา 4 วรรคหนึ่ง มาตรา 5 วรรคหนึ่ง มาตรา 6 และมาตรา 8 วรรคสอง นอกจากนี้ยังใช้โดยอนุโลมในการพิจารณาข้อตกลงที่ทำให้ได้เปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งว่าจะเป็นการได้เปรียบเกินสมควรหรือไม่ ตามมาตรา 4 วรรคสี่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น