โดย ปรีชา สุวรรณทัต
1. ข้อเท็จจริงมีว่า ประมาณปี พ.ศ.2536-2537 นายเบ้า สินนอก ได้ขายที่ดินให้แก่ นายนพดล พิทักษ์วานิชย์ จำนวน 2 แปลง โดยแปลงแรกมีเนื้อที่ 14 ไร่ และแปลงที่ 2 เนื้อที่ 7 ไร่ 2 งาน เป็นพื้นที่ติดต่อกันโดยขายให้ในราคา 600,000 บาท ปี 2540 เปลี่ยนผู้ถือครองที่ดินเป็น พล.ต.สุรฤทธิ์ จันทราทิพย์
ต่อมาปี พ.ศ.2545 เปลี่ยนผู้ถือครองเป็น พ.อ.หญิงจิตราวดี จุลานนท์ และได้ยื่นเสียภาษีบำรุงท้องที่ ภทบ.5 ตลอดมา
ที่ดินดังกล่าวอยู่ในท้องที่หมู่ 6 ต.คลองไผ่ อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา กรมป่าไม้ประกาศเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ ตามพระราชกฤษฎีกาเมื่อ พ.ศ.2507 ในปีที่ประกาศใช้พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 โดยครอบคลุมพื้นที่
- ป่าเขาเตียง
- เขาเขื่อนลั่น และ
- เขายายเที่ยง
และต่อมาในปี พ.ศ.2535 กรมป่าไม้ได้ทำการจำแนกประเภทของป่าเพื่อจัดที่ดินทำกินให้แก่ราษฎร กรมป่าไม้ได้จำแนกพื้นที่บริเวณดังกล่าวให้เป็นพื้นที่ป่าโซน C (โซนอนุรักษ์) ซึ่งเป็นพื้นที่ที่สงวนใช้เป็นพื้นที่ป่าไม้ ไม่อนุญาตให้นำพื้นที่ป่าไม้ดังกล่าวไปจัดเป็นพื้นที่ทำกินแก่ราษฎร
2. เมื่อ มีการกล่าวหาว่ามีการกระทำความผิดอาญาเกิดขึ้น ผู้เขียนจะต้องคิดถึงทฤษฎีของการแยกประเภทความผิดอาญาเพื่อประโยชน์ในการ วินิจฉัยและเข้าใจปัญหา ตาม สภาพและพฤติการณ์ของการกระทำและผู้กระทำความผิดเสียก่อน ในกรณีนี้ได้แก่การแบ่งแยกประเภทความผิด ความแตกต่างในแง่ของกฎหมายตามภาษาละติน
ออกเป็น 2 อย่าง คือ
mala in se. delits naturels คือ "ความผิดในตัวเอง" และ
mala prohibita, delits artificiels ou de temp et de lieu คือความผิดที่มีกฎหมายห้ามตามพฤติการณ์ และกาลเทศะ
mala คือความผิด ส่วน
in se ก็ตรงกับคำว่า อินทรีย
อินทรีย์ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ.2542 ได้ให้คำอธิบายว่า ร่างกายและจิตใจ เช่น
สำรวมอินทรีย์ สติปัญญา ความรู้สึก อินทรียสังวร สำรวมอินทรีย์ 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้ยินดียินร้าย ในเวลาเห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรสถูกต้อง
โผฏฐัพพะ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ ความผิดที่เป็น mala in se จึง เป็นความผิดที่กระทำโดยเจตนา หรือมีเจตนาทุจริต ได้แก่กระทำโดยรู้สำนึก ในการที่กระทำมีอายตนะคือมีเครื่องรู้ และสิ่งที่รู้ว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด หรือมีเถยจิตเป็นโจร
ส่วนความผิดที่เป็น mala prohibita หมายถึง ความผิดนั้น ไม่ใช่ความผิดอาญาในตัวเอง แต่เป็นความผิดเพราะกฎหมายห้าม ซึ่งบางคนอาจไม่ทราบว่า
การ กระทำเช่นนั้นเป็นความผิด เช่น คนต่างด้าวที่เพิ่งเข้ามาในราชอาณาจักร หรือคนที่อยู่ห่างไกล ไม่ทราบถึงกฎหมายที่ประกาศใช้ใหม่ เมื่อมีสภาพและพฤติการณ์
ทั้ง 2 ประการ แสดงว่าผู้กระทำความผิดอาจไม่รู้กฎหมายจริงๆ เพราะเป็นกฎหมายพิเศษ ที่บัญญัติความผิดขึ้นเฉพาะท้องถิ่น เฉพาะชั่วคราว จึงไม่ใช่ความผิดในตัวเอง ดังเช่น ความผิดที่เป็น mala in se ที่ได้อธิบายมาแล้วข้างต้น
แต่ทั้งความผิดที่เป็น mala prohibita และ mala in se ก็ล้วนเป็นการกระทำที่เป็นความผิดเหมือนกัน เพียงแต่ต่างกันตรงที่ถ้าเป็น mala in se ก็ล้วนเป็นการกระทำที่เป็นความผิดเหมือนกัน เพียงแต่ต่างกันตรงที่ถ้าเป็น mala prohibita แล้ว ศาลอาจยอมให้พิสูจน์ว่าผู้กระทำความผิดอาจไม่รู้ว่ามีกฎหมายบัญญัติว่าเป็น ความผิด และศาลอาจลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายระบุไว้ในกฎหมายเท่าใดก็ได้ จะไม่ลดโทษให้ก็ได้ แต่ข้อสำคัญจะไม่ลงโทษเลยไม่ได้ เพราะยังเป็นความผิดอาญาอยู่ เพียงแต่ไม่มี "เถยจิตเป็นโจร" เหมือน mala in se
กรณีของท่าน พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ในขณะนี้ ก็ต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงและประกอบตามคำให้สัมภาษณ์ของท่านที่มีอยู่ 2 ตอนที่สำคัญดังนี้
"เรื่อง นี้ผมยินดีที่จะให้ตรวจสอบ และอย่างที่เคยพูดไว้แล้วว่า ถ้ามีปัญหาก็ไม่มีอะไรมากมาย เราก็พร้อมที่จะคืน เพราะไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไรมากมาย ถ้าผิดผมก็ยินดีที่จะไม่ใช้พื้นที่ ผมเรียนตรงๆ ไม่มีอะไรแอบแฝง ถ้าจะให้ผิดถึงกับว่าเป็นความผิดทางด้านการเมืองผมก็ยินดี เพราะผมไม่ได้มีอะไรยึดติดอยู่แล้ว ถ้าเห็นว่าผมสมควรที่จะออก ผมก็พร้อม ไม่มีอะไรขัดข้องเลย" และอีกตอนหนึ่งที่สำคัญว่า
" มันก็เป็นพื้นที่อย่างนี้อยู่แล้ว เราก็ทราบดีว่าเป็นพื้นที่ที่ "ก้ำกึ่ง" แต่ก็ได้ดำเนินการอย่างถูกต้องตามขั้นตอน คือได้จ่ายเงินให้กับชาวบ้านเพื่อไปขอใช้พื้นที่ เพราะเราไม่ได้เป็นเจ้าของสิทธิ ผู้ถือสิทธิที่ดินดังกล่าวก็ยังมีอยู่ และผมก็เข้าไปทำประโยชน์อย่างต่อเนื่อง คือเข้าไปปลูกต้นไม้ ปรับปรุงพื้นที่ ซึ่งแต่เดิมไม่ได้ทำอะไร เป็นเพียงทุ่งหญ้าคา ก็ได้เข้าไปทำเกษตรกรรมจนมีสภาพอย่างที่สื่อมวลชนได้เห็นในปัจจุบันว่า มีทั้งต้นไม้ และผลไม้ต่างๆ"
3. การไม่รู้ว่ากฎหมายบัญญัติเป็นความผิด จึงต่างกับการไม่รู้ข้อเท็จจริง ถ้าไม่รู้ข้อเท็จจริงแล้ว สามารถแก้ตัวได้ เพราะเป็นการสำคัญผิดในข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิด กฎหมายถือว่าไม่มีเจตนา จึงไม่เป็นความผิดอาญา ไม่ว่าจะเป็น mala prohibita หรือ mala in se การไม่รู้ข้อเท็จจริง อันเป็นองค์ประกอบของความผิด (ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 วรรค 3) ที่ถือว่าผู้กระทำไม่มีเจตนาจึงไม่เป็นความผิดอาญาดังคำพิพากษาศาลฎีกาที่เป็นบรรทัดฐานดังนี้
ฎีกาที่ 1266/2515 ไม่รู้ว่าที่ดินที่ใดเป็นป่าสงวนไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507
ฎีกาที่ 2907 ถึง 2928/2517 เข้าใจว่าที่ดินที่จำเลย ไถ ทำนาเป็นที่ดินที่จำเลยมีสิทธิครอบครอง ไม่รู้ว่าเป็นพื้นที่สาธารณะ ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมาย อาญามาตรา 360
ฎีกาที่ 320/2515 ประกาศ กฎกระทรวง คำสั่ง ระเบียบ หรือข้อบังคับต่างๆ ที่ออกโดยฝ่ายบริหาร ไม่ถือว่าเป็นกฎหมาย การไม่รู้บทบัญญัติเหล่านี้ ต้องถือว่าเป็นการไม่รู้ข้อเท็จจริง เท่ากับไม่มีเจตนา (ฎีกาที่ 660/2492 และที่ 1347/2505) แต่ความเข้าใจผิด ที่อ้างว่าไม่รู้ข้อเท็จจริงนี้ จะต้องมีเหตุผลอันสมควรด้วย (resonable)
แต่ คำรับของท่านพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ที่ว่า เราก็ทราบดีว่าเป็นพื้นที่ที่ "ก้ำกึ่ง" คำพูดนี้จึงเป็นการปิดปากไม่ให้ท่านเถียงและแก้ตัวว่าไม่รู้ข้อเท็จจริงว่า เป็นป่าสงวน ตามพระราชกฤษฎีกา เมื่อ พ.ศ.2507
เพิ่มเติม: มาตรา 14 ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ห้ามมิให้บุคคลใดยึดถือ ครอบครองทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในที่ดิน ก่อสร้าง แผ้วถาง เผาป่า ทำไม้ เก็บหาของป่า หรือกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพ ป่าสงวนแห่งชาติ เว้นแต่
(1) ทำไม้หรือเก็บหาของป่าตาม มาตรา 15 เข้าทำประโยชน์ หรืออยู่อาศัยตาม มาตรา 16 มาตรา 16ทวิ หรือ มาตรา 16ตรี กระทำการ ตาม มาตรา 17 ใช้ประโยชน์ตาม มาตรา 18 หรือกระทำการตาม มาตรา 19 หรือ มาตรา 20
(2) ทำไม้หวงห้ามหรือเก็บหาของป่าหวงห้ามตามกฎหมาย ว่าด้วยป่าไม้ มาตรา 14 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2528
มาตรา 31 ผู้ใดฝ่าฝืน มาตรา 14 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ หกเดือนถึงห้าปีและปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงห้าหมื่นบาท
ในกรณีความผิดตาม มาตรา นี้ ถ้าได้กระทำเป็นเนื้อที่เกินยี่สิบห้าไร่ หรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่
(1) ไม้สัก ไม้ยาง ไม้สนเขา หรือไม้หวงห้ามประเภท ข. ตาม กฎหมายว่าด้วยป่าไม้ หรือ
(2) ไม้ อื่นเป็นต้นหรือเป็นท่อนอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่าง รวมกันเกินยี่สิบต้น หรือท่อน หรือรวมปริมาตรไม้เกินสี่ลูกบาศก์เมตร หรือ
(3) ต้นน้ำลำธาร ผู้กระทำความผิดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบห้าปี และ ปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนห้าหมื่นบาท
ใน กรณีที่มีคำพิพากษาชี้ขาดว่าบุคคลใดกระทำความผิดตาม มาตรา นี้ ถ้าปรากฏว่าบุคคลนั้นได้ยึดถือครอบครองที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ศาลมี อำนาจสั่งให้ผู้กระทำผิด คนงาน ผู้รับจ้าง ผู้แทน และบริวารของผู้กระทำผิด ออกจากเขตป่าสงวนแห่งชาติได้ด้วย
http://www.kodmhai.com/m4/m4-10/H28/H-28.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น