ความตกลงหรือความยินยอมของผู้เสียหายในคดีละเมิด ตามมาตรา 9
มาตรา 9 บัญญัติว่า “ความตกลงหรือความยินยอมของผู้เสียหายสำหรับการกระทำที่ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จะนำมาเป็นเหตุยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดเพื่อละเมิดมิได้”
ตามบทบัญญัตินี้ บุคคลผู้ที่ได้รับความเสียหายจะตกลงหรือให้ความยินยอมยกเว้น (คือ การที่ผู้ก่อความเสียหายไม่ต้องรับผิดเลย) หริอจำกัดความรับผิด ( คือ การที่ผู้ก่อความเสียหายยังต้องรับผิดอยู่บ้างแต่ไม่ทั้งหมด)...
เหตุลดโทษในประมวลกฎหมายอาญา
16/8/53
โดยอาจารย์ ดร. มาตาลักษณ์ ออรุ่งโรจน์
เหตุลดโทษในประมวลกฎหมายอาญา
มี 3 กรณีดังนี้
1. บันดาลโทสะ (มาตรา 72) 2. ความไม่รู้กฎหมาย (มาตรา 64) 3. เหตุบรรเทาโทษอื่นๆ
1. บันดาลโทสะ (มาตรา 72)
มีหลักเกณฑ์ที่สำคัญ 3 ประการ คือ
-ถูกข่มเหงอย่างร้ายแรง ด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม
-การที่ถูกข่มเหงนั้น เป็นเหตุให้ ผู้กระทำบันดาลโทสะ
-ผู้กระทำได้กระทำ ความผิด ต่อผู้ข่มเหง ในขณะบันดาลโทสะ
ผล : ศาล “จะ” ลงโทษผู้กระทำน้อยกว่าที่กม. กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้...
การสอบสวนพยานบุคคล
15/8/53

ถ้อยคำของบุคคลที่ให้ต่อพนักงานสอบสวน ในฐานะพยานนั้น หากพิจารณาถึง ผลที่ได้จากถ้อยคำของบุคคลนั้น ๆ ก็พิจารณาแยกได้เป็น 3 ประเภท คือ พยานฝ่ายผู้กล่าวหา พยานฝ่ายผู้ต้องหา และพยานฝ่ายเป็นกลาง
(3.1 ) พยานฝ่ายผู้กล่าวหา
พยานประเภทนี้มีที่มาจากเหตุ ดังต่อไปนี้
- จากการตรวจสถานที่เกิดเหตุ จะทราบได้ว่ามีบุคคลใดอยู่ในที่เกิดเหตุบ้าง
เช่น...
ศาลปกครองกับการสอบสวนคดีอาญาของพนักงานสอบสวน
15/8/53
โดยชินานนท์ วงศ์วีระชัย เมื่อ 29/06/2553 www.forlayman.com
ในการสอบสอนคดีอาญานั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญากำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวน ผู้ที่จะเป็นพนักงานสอบสวนได้ก็คือ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ซึ่งปัจจุบันได้กำหนดให้เจ้าหน้าที่ตำรวจที่มียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีขึ้นไปเป็นพนักงานสอบสวน มีอำนาจหน้าที่ทำการสอบสวนในเขตพื้นที่ที่ตนรับผิดชอบ
การสอบสวนก็คือ การรวบรวมพยานหลักฐานต่างๆเกี่ยวกับความผิดที่มีการกล่าวหา...
"คดีเสร็จเด็ดขาด" กับ "คดีถึงที่สุด" ต่างกันอย่างไร
10/8/53

คดีเสร็จเด็ดขาด หมายความว่า คดีที่ศาลได้มีการวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีและได้มีคำพิพากษาไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่หากคู่ความไม่พอใจก็อาจใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาต่อไปได้อีก แต่ต้องอุทธรณ์ ฎีกาภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ และต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติเกี่ยวกับการอุทธรณ์ฎีกาด้วย
ตัวอย่าง ฎีกาเกี่ยวกับคดีเสร็จเด็ดขาด
ฎีกาที่ 977/2466
นางนวม...
ศาลแพ่ง พิพากษา สตช.แพ้คดี สั่งจ่าย 2.5 แสนละเมิดผู้พิพากษาหัวหน้าคณะศาลฎีกา หลังทำสำนวนคดีหมิ่นประมาทล่าช้า
10/8/53
โดยหนังสือพิมพ์แนวหน้า
ที่ ศาลแพ่ง ถ.รัชดาภิเษก วันที่ 22 ส.ค.51 ศาลอ่านคำพิพากษาคดีดำหมายเลขที่ 2283/2550 ที่
นาย xxx ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา
เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง
1. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) 2. พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ ผบ.ตร. 3. พล.ต.อ.ชาญวุฒิ วัชรพุกก์ ผช.ผบ.ตร. 4. พล.ต.ท.วิโรจน์ จันทรังษี ผบช.น.5. พล.ต.ต.อำนาวย นิ่มมะโน ผบก.น.2 และ6. พ.ต.อ.วราวุธ ทวีชัยการ ผกก.สน.พหลโยธิน (ทั้งหมดตำแหน่งขณะฟ้องเมื่อปี...
ศาลแพ่งสั่ง ตร.จ่าย 2.5แสน สอบสวนคดีช้า เป็นการละเมิดผู้เสียหาย ซึ่งเป็นผู้พิพากษา
10/8/53
โดยมติชน เมื่อ 22 ส.ค.2551
ที่ศาลแพ่ง ถนนรัชดาภิเษก กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม ศาลพิพากษาให้
- สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.),
- พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ ผบ.ตร.,
- พล.ต.อ.ชาญวุฒิ วัชรพุกก์ ผู้ช่วย ผบ.ตร.,
- พล.ต.ท.วิโรจน์ จันทรังษี ผบช.น.,
- พล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน ผบก.น.2 และ
- พ.ต.อ.วราวุธ ทวีชัยการ ผกก.สน.พหลโยธิน ยศและตำแหน่งขณะฟ้อง เมื่อปี 2550 จำเลยที่ 1-6 เรื่องละเมิด
โดยให้ ตร.จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหาย 250,000 พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ...
กรณีการออกหมายจับผู้พิพากษา
10/8/53
โดยหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ เมื่อ 11 ก.พ.2553
ผู้พิพากษาศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ร้อง ก.ต.สร้างบรรทัดฐาน ป.ป.ช.ตั้งกรรมการสอบออกหมายจับ “ สุนัย มโนมัยอุดม” อดีตอธิบดีดีเอสไอ คดีหมิ่นประมาท พ.ต.ท.ทักษิณ เข้าข่ายแทรกแซงตุลาการหรือไม่ ขณะที่อดีตหัวหน้าศาลแจงข้อเท็จจริง-ข้อกฎหมาย
กรณีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ตั้งอนุกรรมการสอบสวน
พ.ต.ท.ณรงค์ฤทธิ์ วาพันสุ รอง ผกก.สส.สภ.วังน้อย ,พ.ต.อ.ธาตรี ตั้งโสภณ...
ศาลฎีกายืนจำคุก1ปีรองอธิบดีอัยการฯ
10/8/53
โดยไอเอ็นเอ็นนิวส์
ศาลฎีกา พิพากษายืนจำคุก 1 ปี และปรับ 2,000 บาท รองอธิบดีอัยการฝ่ายคดีอาญาธนบุรี ในความผิดต่อเจ้าพนักงานในการยุติธรรม แต่โทษจำคุกให้รอลงอาญาไว้ 1 ปี
ศาลอาญา ธนบุรี ได้อ่านคำพิพากษาของศาลฎีกา ในคดีที่
นาย xxx ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะศาลฎีกา
เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง
นายสุกรี สุจิตตกุล รองอธิบดีอัยการฝ่ายคดีอาญาธนบุรี
ในความผิดต่อเจ้าพนักงานในการยุติธรรม กรณีจำเลยไม่สั่งฟ้อง
บ.สี่พระยาการพิมพ์...
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3509/2549
9/8/53
ฎีกาตัดสินเกี่ยวกับปัญหาข้อกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3509/2549
นาย xxx โจทก์
นายสุกรี สุจิตตกุล จำเลย
จำเลยซึ่งเป็นพนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องบริษัท ส. และ ป. ที่ถูกกล่าวหาว่าหมิ่นประมาทโจทก์ ทั้งที่หนังสือพิมพ์ ด. ซึ่งบริษัท ส. เป็นเจ้าของและ ป. เป็นบรรณาธิการ ลงข้อความในหนังสือพิมพ์เป็นความเท็จ และก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ เป็นการใช้ดุลพินิจที่มิได้อยู่บนรากฐานของความสมเหตุสมผล แต่เป็นการใช้ดุลพินิจตามอำเภอใจ จึงเกินล้ำออกนอกของเขตของความชอบด้วยกฎหมายและในฐานะที่จำเลยเป็นข้าราชการอัยการชั้นสูง...
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)