โดย ประสงค์ วิสุทธิ์
วันที่ 02 ตุลาคม พ.ศ. 2552 เวลา 20:30:25 น.
เป็นการช็อคแวดวงวิชการกฎหมายมหาชนอย่างมาก เมื่อ
ซึ่งมีโอกาสดำรงตำแหน่งประธานศาลปกครองสูงสุดในอนาคตอันใกล้ได้ยื่นใบลาออกจากตุลาการศาลปกครองสูงสุดอย่างกระทันหันโดยให้มีผลในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2552
แม้การลาออกของ ดร.วรพจน์ เมื่อดูผิวเผินแล้วอาจจะเป็นผลมาจากกรณีที่
ดร.วรพจน์
และ
ตุลาการหัวหน้าคณะในศาลปกครองสูงสุด
ซึ่งคณะกรรมการตุลาการศาลปกครอง(กศ.ป.)มีมติแต่งตั้งไปเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2552 จำนวน 3 ตำแหน่งโดยบุคคลทั้งสองรู้สึกว่า ไม่ได้รับความเป็นธรรมมีการข้ามอาวุโสและเป็นการผิดข้อตกลงบางประการ
แต่ความจริงแล้ว ปรากฎกาณณ์ครั้งนี้อาจเป็นสะท้อนอาการร้าวลึกของศาลปกครองที่เริ่มปรากฎขึ้นมาตั้งแต่ศาลปกครองกลางมีคำสั่งเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2551 คุ้มครองชั่วคราวห้ามนำมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน.2551 ซึ่งเห็นชอบร่างแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาสนับสนุนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกไปดำเนินการการใดๆ จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นอย่างอื่น
คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวดังกล่าว นอกจากเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างมากในแวดงวงวิชาการแล้ว แม้แต่ในแวดวงศาลปกครองเอง ตุลาการระดับสูงจำนวนหนึ่งซึ่งในจำนวนนี้มี
ดร.วรพจน์ และนายชาญชัย
ไม่เห็นด้วยอย่างมาก โดยเห็นว่า เรื่องดังกล่าวไม่อยู่ในอำนาจศาลปกครองเพราะมติคณะรัฐมนตรีในเรื่องนี้เป็นการกระทำในทางรัฐบาล หรือเรื่องในทางนโยบาย โดยแท้ มิใช่การกระทำทางปกครอง
ในการวิการวิพากษ์วิจารณ์มีการหยิบยกกรณีคดีข้อตกลงทางหุ้นส่วนเศรษฐกิจระหว่างญี่ปุ่นกับไทยหรือเจเทปป้าที่ศาลปกครองสูงสุดเคยมีคำสั่งไม่รับเรื่องไว้พิจารณาด้วยเหตุผลว่า ไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองเนื่องจากเป็นการกระทำในทางรัฐบาลมาเป็นบรรทัดฐาน
ต่อมาคณะรัฐมนตรีและกระทรวงการต่างประเทศอุทธรณ์คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวต่อศาลปกครองสูงสุดซึ่งศาลปกครองสูสุดคณะที่ 1 ซึ่งมี
ดร.อักขราทร จุฬารัตน ประธานศาลปกครองสูงสุด เป็นหัวหน้าคณะ มีคำสั่งเมื่อ 11 กันยายน 2551 ยืนตามคำสั่งศาลปกครองกลาง
ศาลปกครองสูงสุดให้เหตุผลโดยสรุปว่า แถลงการณ์ร่วมฯอาจ ก่อให้เกิดความความแตกแยกกันในด้านความคิดเห็นของคนในสังคม และอาจก่อให้เกิดวิกฤติสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทย-ประเทศกัมพูชา ที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางสังคมอย่างกว้างขวาง แถลงการณ์ร่วมจึงเป็นหนังสือสัญญาที่อาจมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตของประเทศไทย
ดังนั้นหากดำเนินการใด ๆ ที่ใช้ประโยชน์จากมติ ครม. เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน ดังกล่าว ก็จะมีผลเสียหายและกระทบต่อประเทศชาติโดยรวมและสิทธิของประชาชนได้ จึงมีเหตุเพียงพอที่ศาลจะกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาไว้ต่อไปซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อความมั่นคงของประเทศและประชาชนโดยรวม
เป็นที่น่าสังเกตว่า องค์คณะตุลาการศาลปกครองสูงสุดคณะที่ 1
ประกอบด้วย
-ประธานศาลปกครองสูงสุด
-รองประธาน 2 คน และ
-ตุลาการหัวหน้าคณะในศาลปกครองสูงสุดอีก 4 คน
รวม 7 คน
(องค์คณะปกติมีตุลาการ 5 คน และมีหัวหน้าคณะ 1 คน)
การใช้องค์คณะที่ 1 พิจารณาคดีดังกล่าว เป็นครั้งแรกนับแต่จัดตั้งศาลปกครองมา 8 ปี น่าจะเป็นเพราะผู้บริหารศาลให้ความสำคัญกับคดีนี้อย่างมาก
แต่การให้ความสำคัญกับคดีนี้มากเป็นพิเศษ โดยให้เหตุผลเน้นในเรื่องผลประโยชน์และความมั่นคงของชาติในมุมมองหนึ่ง อาจทำให้อีกมุมมองเห็นว่า เป็นการละเลยหลักการทางวิชาการ และอาจมีผลกระทบต่อความยุติธรรมได้
ที่สำคัญเกรงว่า จะทำให้ศาลปกครองถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า ถือหางการเมืองฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง จนอาจมีผลกระทบต่อความน่าเชื่อของศาลที่เคยสร้างบรรทัดฐานในการพิพากษาคดีสำคัญมาแล้วเป็นจำนวนมาก
กรณีดังกล่าวทำให้เกิดกระแสข่าวมากมายเกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านคดีที่ยังไม่มีใครทราบข้อเท็จจริงว่า แท้จริงแล้วเป็นอย่างไร เพราะกระแสข่าวดังกล่าว ถ้าเป็นจริงถือเป็นร้ายแรงอย่างมากในกระบวนการยุติธรรม
หลังจากคดีดังกล่าวในทางเปิดเผยได้เกิดวิวาทะกันอย่างระหว่าง
กลุ่มนักวิชาการกฎหมายที่ไม่เห็นด้วยโดยเฉพาะ
ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์
อย่างต่อเนื่อง
ขณะเดียวกันได้เกิดสภาพมึนตึงได้เกิดขึ้นในศาลปกครองที่ผู้บริหารศาลบางคนมองว่า มีกรณี"ไฟในอย่านำออก ไฟนอกอย่านำเข้า "จึงเกิดความหวาดระแวงไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกันมานับแต่บัดนั้น
ด้วยเหตุนี้เมื่อ ดร.วรพจน์ลาออกอย่างกระทันหัน จึงถูกมองว่า อาจจะเป็นผลพวงจากความสขัดแย้งที่ต่อเนื่องมาจากปมปราสาทพระวิหาร
ประเด็นที่น่าจับตามองคือ หลังจากการลาออก ดร.วรพจน์
ผู้บริหารศาลปกครองจะสรุปบทเรียนใอย่างไร เพื่อมิให้กระทบกระเทือนต่อความน่าเชื่อถือศรัทธาของสถาบันแห่งนี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น