Author : คณิต ณ นคร*
Quelle : มติชนสุดสัปดาห์
Category : บทความกฎหมาย
Publisher : BioLawCom
การใช้กฎหมายที่ขัดต่อกฎหมายในประเทศเยอรมันเป็นความผิดอาญาฐานหนึ่ง เรียกในภาษาเยอรมันว่า Rechtsbeugung
ประมวลกฎหมายอาญาเยอรมัน มาตรา 336 บัญญัติเกี่ยวกับความผิดฐาน Rechtsbeugung ว่า
"ผู้พิพากษาผู้ใดพิจารณาพิพากษาคดีให้เป็นคุณหรือเป็นโทษกับฝ่ายใดโดยการบิดเบือนกฎหมายต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี"
(คำว่า "ผู้พิพากษา" ในภาษาไทยใช้กับผู้ที่ใช้อำนาจตุลาการในศาลยุติธรรม ส่วนผู้ที่ใช้อำนาจตุลาการในศาลอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง หรือศาลทหารเราเรียกว่า "ตุลาการ")
ความผิดฐานที่เรียกว่า Rechtsbeugung อาจแปลว่า "ความผิดฐานบิดเบือนกฎหมาย" หรือถ้าจะแปลให้สะใจก็ต้องแปลว่า "ความผิดฐานหักดิบกฎหมาย"
ความผิดฐานนี้เป็นความผิดดั้งเดิมในประมวลกฎหมายอาญาเยอรมันทีเดียว กล่าวคือ การบิดเบือนหรือหักดิบกฎหมายเป็นความผิดอาญามาโดยตลอดตั้งแต่ก่อนสงครามโลก
เมื่อเราพูดถึงการทุจริตประพฤติมิชอบของเจ้าพนักงานในการยุติธรรมแล้วในกฎหม ายอาญาของไทยเราก็ย่อมจะหมายถึงโดยเฉพาะอย่างยิ่งความผิดตามประมวลกฎหมายอาญ ามาตรา 201, 202 ซึ่งการทุจริตประพฤติมิชอบดังกล่าวนี้ก็เป็นการกระทำที่เป็นความผิดอาญาตามก ฎหมายอาญาเยอรมันเช่นเดียวกันและเป็นความผิดอาญาในทุกประเทศ แต่ความผิดฐานบิดเบือนกฎหมายในกฎหมายอาญาเยอรมันนั้น ไม่มีในกฎหมายอาญาของไทยเรา
ความผิดฐานบิดเบือนกฎหมายเป็นความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรมที่ไม่ใ ช่เรื่องที่เกี่ยวกับของกำนัลหรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด แต่เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการใช้กฎหมายอย่างไม่ตรงไปตรงมาที่ไม่มีของกำนัลเ ข้ามาเกี่ยวข้อง
การบิดเบือนหรือหักดิบกฎหมาย คือ การกระทำที่ขัดต่อกฎหมายอย่างชัดแจ้ง และในกรณีที่กฎหมายอาจตีความได้หลายอย่าง การบิดเบือนหรือหักดิบกฎหมายก็คือการตีความกฎหมายที่เกินเลยขอบเขตที่ยอมรับ ได้ในทางวิชาการ
การกระทำที่เป็นการบิดเบือนหรือหักดิบกฎหมายเคยเกิดขึ้นมาแล้วในประเทศไทยเรา เช่น กรณีการตีความกฎหมายของศาลรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับการพ้นตำแหน่งของรัฐมนตรีช่วย ว่าการกระทรวงการคลัง (ดู คณิต ณ นคร "ศาลรัฐธรรมนูญกับการตีความกฎหมาย" มติชนสุดสัปดาห์ ปีที่ 19 ฉบับที่ 985 วันที่ 6 กรกฎาคม 2542 หรือใน นิติธรรมอำพรางในนิติศาสตร์ไทย สำนักพิมพ์วิญญูชน กันยายน 2548 หน้า 49)
ในบทความนี้ผู้เขียนจึงจะได้การวิเคราะห์ถึงการบิดเบือนหรือหักดิบกฎหมายของ ศาลรัฐธรรมนูญที่แม้จะได้ถูกยกเลิกไปแล้วต่อไป ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นอุทาหรณ์สอนใจสำหรับนักกฎหมายและผู้ใช้กฎหมายทั้งหลาย
อนึ่ง ในบทความนี้เมื่อผู้เขียนกล่าวถึง "รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน" ผู้เขียนหมายถึง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปี พ.ศ.2540 ที่เพิ่งถูกยกเลิกไปในการยึดอำนาจการปกครอง และเมื่ออ้างถึง "ราชกิจจานุเบกษา" ผู้เขียนหมายถึง ราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 118 ตอนที่ 77 ก วันที่ 7 กันยายน 2544
อันเป็นราชกิจจานุเบกษาที่ลงพิมพ์คำวินิจฉัยของศาลศาลรัฐธรรมนูญใน "คดีซุกหุ้น" ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ตกเป็นผู้ถูกกล่าวหา ซึ่งมีอยู่ 3 เล่ม
อิทธิพลในทางการเมืองต่อนักกฎหมาย
คงต้องยอมรับ กันได้กระมังว่าขณะเมื่อครั้งที่ศาลรัฐธรรมนูญยังคงมีอยู่นั้น ความเชื่อถือศรัทธาของประชาชนต่อศาลรัฐธรรมนูญมีปัญหาอยู่มากทีเดียว ทั้งๆ ที่ศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรแรกและเป็นองค์กรที่สำคัญที่เกิดขึ้นหลังจาก ปฏิรูปการเมือง
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญของไทยเรานั้นประกอบด้วยผู้พิพากษาศาลฎีกาจำนวน 5 คน ตุลาการศาลปกครองสูงสุดจำนวน 2 คน นอกนั้นเป็นผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์จำนวน 5 คน และผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์จำนวน 3 คน ดั่งนี้ โครงสร้างของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญของไทยเราในหลักการใช้ได้ดีทีเดียว เพราะนอกจากจะเป็นการสร้างเอกภาพของอำนาจตุลาการโดยมีผู้พิพากษาศาลฎีกาและต ุลาการศาลปกครองสูงสุดร่วมประกอบเป็นส่วนหนึ่งแล้ว ยังเปิดโอกาสให้ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกได้เข้ามามีส่วนร่วมในการวินิจฉัยคดีด้วย
ระบบตุลาการศาลรัฐธรรมนูญของเราจึงเป็น "ระบบกึ่งเปิด" ทำนองเดียวกับศาลสูงสุดของประเทศญี่ปุ่น
คงต้องยอมรับกันอีกต่อไปว่าสังคมไทยเรานั้นเป็นสังคมที่นำไปสู่ระบบอุปถัมภ์ ได้ง่ายมาก เพราะสังคมไทยเป็นสังคมครอบครัว การเลือกสรรบุคคลในองค์กรอิสระจึงอาจถูกอิทธิพลภายนอกซึ่งก็คืออิทธิพลทางกา รเมืองแทรกได้ง่าย และเพื่อเป็นการป้องกันการเล่นพรรคเล่นพวกรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนจึงได้ฝากคว ามหวังไว้กับวุฒิสภาว่าจะเป็นกลางในทางการเมืองที่เพียงพอ แต่แล้วความเป็นกลางในทางการเมืองของวุฒิสภาก็ถูกตั้งคำถามจากสังคมอยู่ไม่น ้อย ความเชื่อถือศรัทธาของประชาชนต่อวุฒิสภาจึงมีปัญหาอยู่มากเช่นเดียวกับศาลรั ฐธรรมนูญ
การเลือกและให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดแรกนั้นกระท ำโดยวุฒิสภาที่มีอยู่เดิมที่มาจากการแต่งตั้งอันมี นายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธานวุฒิสภา และจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญหลายเรื่องตั้งแต่เริ่มต้นทำหน้าที่ความเชื่อถือศรัทธาของประชาชนต่อตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดแรกก็เริ่มมีปัญหา
ต่อมาเมื่อผู้ทรงคุณวุติสาขานิติศาสตร์ว่างลงหนึ่งคนและคณะกรรมการสรรหาได้เ สนอชื่อผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์จำนวน 2 คน ให้วุฒิสภาทำการเลือกตามกติกา บุคคลที่กรรมการสรรหาเสนอให้วุฒิสภาคัดเลือก คือ ดร.ไพศิษฐ์ พิพัฒนกุล นิติศาสตรบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยโตเกียว ประเทศญี่ปุน นิติศาสตรบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และปริญญาเอกทางกฎหมายจากมหาวิทยาลัยแห่งกรุงบอนน์ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และ นายศักดิ์ เตชาชาญ ซึ่งมีวุฒิทางกฎหมายชั้นปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เท่านั้น แต่ผลปรากฏว่า ดร.ไพศิษฐ์ พิพัฒนกุล ไม่ได้รับการคัดเลือก ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกคือ นายศักดิ์ เตชาชาญ
กรณีนี้จึงทำให้ผู้เขียน (และอาจมีผู้อื่นด้วย) มีคำถามอยู่ในใจตลอดมาว่ามาตรฐานผู้ทรงคุณวุฒิทางนิติศาสตร์ของวุฒิสภา นั้นวัดกันอย่างไร
กระแสสังคมและอิทธิพลในการเมืองต่อนักกฎหมายนั้น ผู้เขียนเคยประสบมาแล้วด้วยตนเองในขณะดำรงตำแหน่งอัยการสูงสุดระหว่างปี พ.ศ.2537 ถึง 2540 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคดี ส.ป.ก.4-01 ความรุนแรงของกระแสสังคมและอิทธิพลในการเมืองในคดีดังกล่าวนี้นั้นมีสูงมาก จนผู้เขียนซึ่งเป็นข้าราชการประจำเกือบเอาตัวไม่รอด
ความเป็นอิสระของผู้พิพากษา หรือตุลาการ
ความเป็นอิสระของผู้พิพากษาหรือตุลาการ (Independence of the Judiciary) นั้น เป็นหัวใจของการกระทำหน้าที่ของผู้พิพากษาหรือตุลาการ และเป็นสิ่งที่ผู้ที่เป็นผู้พิพากษาหรือตุลาการทั้งหลายจักต้องตระหนัก ในอดีต ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ ศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ และองค์คณะอีกท่านหนึ่งถ้าจำไม่ผิดคือ อาจารย์โพยม เลขยานนท์ ได้ตัดสินจำคุกคนขนาดรัฐมนตรีมาแล้ว ท่านทั้งสามจึงได้รับการกล่าวขวัญถึงตลอดมา
ผู้พิพากษาหรือตุลาการนั้นจะหวั่นไหวกับอิทธิพลใดๆ และกระแสสังคมไม่ได้โดยเด็ดขาด ผู้พิพากษาหรือตุลาการจักต้องตั้งมั่นในความเป็นอิสระของตน แต่ในอดีตปรากฏว่าอย่างน้อยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเองก็เคยส่อให้เห็นถึงความอ ่อนไหวของตนต่อกระแสการเมืองและกระแสสังคม เพราะในคำวินิจฉัยส่วนตนของ นายอนันต์ เกตุวงศ์ ในคดีที่รู้จักกันทั่วไปว่า "คดีซุกหุ้น" ที่มี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ตกเป็นผู้ถูกกล่าวหา มีข้อความตอนหนึ่งว่า
สำหรับความกังวลใจที่ปรากฏในสื่อมวลชนทั้งไทยและต่างประเทศที่ว่าการเลือกต ั้งทั่วไปครั้งแรกภายในรัฐธรรมนูญใหม่ทิ้งปัญหาที่ต้องขบคิดอยู่ 2 ประการคือ ถ้าผู้ถูกร้องไม่ได้เป็นนายกรัฐมนตรีต่อไปรัฐบาลชุดแรกที่มีเสถียรภาพในประว ัติศาสตร์ประชาธิปไตยของไทยก็อาจจะสั่นคลอน แต่ถ้าตรงกันข้ามผู้ถูกร้องพ้นข้อกล่าวหาจากกฎเกณฑ์ที่แตกต่างจากข้อวินิจฉั ยเดิม มาตรการต่างๆ ที่ใช้กำจัดการทุจริตประพฤติมิชอบในระยะยาวก็จะไม่มีประสิทธิภาพนั้น ขอยืนยันว่าความกังวลใจดังกล่าวจะเกิดขึ้นไม่ได้
เพราะศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยคำร้องตามมาตรา 295 ไปแล้วเพียง 8 เรื่องเท่านั้น และยังไม่มีข้อเท็จจริงในคำร้องใดเหมือนกับกรณีของผู้ถูกร้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องทรัพย์สินที่เป็นหุ้น ส่วนกรณีของ นายประยุทธ มหากิจศิริ นั้นได้ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน ที่เป็นบัญชีเงินฝากธนาคารกับที่ดินทั้งของนาย ประยุทธ เอง และของคู่สมรสมีจำนวนน้อยกว่าที่ไม่ได้ยื่น และไม่มีกรณีเรื่องหุ้นเข้ามาเกี่ยวข้อง จึงแตกต่างในประเด็นเรื่องข้อเท็จจริงกับผู้ถูกร้องโดยชัดเจน (ดู ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 2 หน้า 441)
ถ้อยคำที่ได้ยกมานี้เป็นถ้อยคำที่ผู้เขียนเห็นว่าไม่ชอบที่ปรากฏในคำวินิจฉั ยใดๆ ของศาลรัฐธรรมนูญ เพราะ "คดีซุกหุ้น" นี้มีประเด็นพิจารณาเพียงสองประการ คือ เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลรัฐธรรมนูญที่จะวินิจฉัยชี้ขาดหรือไม่ และหากเป็นคดีอยู่ในอำนาจศาลรัฐธรรมนูญแล้ว กรณีก็จะต้องวินิจฉัยต่อไปว่า ข้อเท็จจริงฟังได้หรือไม่ว่าผู้ถูกร้องได้กระทำผิดรัฐธรรมนูญ มาตรา 295 ฉะนั้น เหตุผลใดๆ ที่หยิบยกขึ้นมากล่าวในคำวินิจฉัยชอบที่จะต้องเป็นเหตุผลโดยตรงในการรับฟังแ ละในการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานเท่านั้น
ยิ่งถ้อยคำที่ว่า "ขอยืนยันว่าความกังวลใจดังกล่าวจะเกิดขึ้นไม่ได้ เพราะศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยคำร้องตามมาตรา 295 ไปแล้วเพียง 8 เรื่องเท่านั้น" ด้วยแล้วยิ่งไม่ชอบที่ปรากฏในคำวินิจฉัยเลย
การชั่งน้ำหนักพยานหลักฐาน และจิตวิทยาคำให้การพยานบุคคล
เกี่ยวกับ "คดีซุกหุ้น" ที่มี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ตกเป็นผู้ถูกกล่าวหานั้น ผู้เขียนได้เคยวิเคราะห์ปัญหาข้อกฎหมายมาบ้างแล้ว โดยผู้เขียนได้วิเคราะห์ว่า ในคดีดังกล่าวศาลรัฐธรรมนูญต้องเป็น "ศาลพิจารณาพิพากษาเฉพาะข้อกฎหมาย" (Review Court) ไม่ใช่ "ศาลพิจารณา" (Trial Court) (ดู คณิต ณ นคร "ศาลรัฐธรรมนูญในคดียื่นบัญชีทรัพย์สิน" มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 23 และ 24 มีนาคม 2544 หรือใน รัฐธรรมนูญกับกระบวนการยุติธรรม สำนักพิมพ์วิญญูชน มิถุนายน 2549 หน้า 80)
โดยที่ใน "คดีซุกหุ้น" นี้ยังมีปัญหาเกี่ยวกับการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานด้วย ผู้เขียนจึงจะวิเคราะห์ปัญหาดังกล่าวนี้ต่อไป
ตามหลักกฎหมายนั้น การนั่งพิจารณาคดีของศาล (รวมทั้งศาลรัฐธรรมนูญด้วย) ต้องมีผู้พิพากษาหรือตุลาการครบองค์คณะ และผู้พิพากษาหรือตุลาการซึ่งมิได้นั่งพิจารณาคดีใดจะทำคำพิพากษาหรือวินิจฉ ัยคดีนั้นไม่ได้ (ดู รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน มาตรา 236)
หลักกฎหมายดังกล่าวนี้ย่อมตรงกับหลักตรรกศาสตร์อันเป็นหลักสำคัญในการชั่งน้ ำหนักพยานหลักฐาน กล่าวคือ ผู้ที่จะชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานได้ต้องเป็นผู้ที่ได้สัมผัสพยานหลักฐานต่างๆ มาด้วยตนเอง เพราะหากให้ผู้ที่มิได้สัมผัสกับพยานมาโดยตรงด้วยตนเองเป็นผู้ชั่งน้ำหนักพย านหลักฐานแล้ว ก็ย่อมจะไม่สามารถที่อธิบายและให้เหตุผลด้วยศาสตร์ใดๆ ได้เลย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานบุคคล เพราะความน่าเชื่อถือของพยานบุคคลก็ดี ความสามารถในการจดจำของพยานบุคคลก็ดี เหล่านี้ผู้ชั่งน้ำหนักพยานบุคคลต้องสัมผัสกับพยานบุคคลโดยตรงด้วยตนเอง
กล่าวคือ พยานบุคคลต้องให้การต่อหน้าตน แต่ทางปฏิบัติในอดีตของศาลยุติธรรมของไทยเราได้มีการทำผิดหลักการเกี่ยวกับเรื่องนี้มาโดยตลอดจนต้องเน้นย้ำหลักการนี้ไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน (ดู คณิต ณ นคร กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พิมพ์ครั้งที่ 7 สำนักพิมพ์วิญญูชน กุมภาพันธ์ 2549 หน้า 241-252)
อย่างไรก็ตาม แม้จะได้มีหลักการดังกล่าวในรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน แต่ใน "คดีซุกหุ้น" ที่มี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ตกเป็นผู้ถูกล่าวหานั้น นายศักดิ์ เตชาชาญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญซึ่งเพิ่งได้รับเลือกเข้าไปทำหน้าที่และไม่ได้สัมผัสพย านบุคคลใดๆ ในคดีโดยตรงด้วยตนเอง แต่ก็ได้เข้าร่วมในการวินิจฉัยชี้ขาดข้อเท็จจริงในคดีดังกล่าวด้วย การกระทำของ นายศักดิ์ เตชาชาญ จึงเป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือขัดต่อกฎหมายอย่างแจ้งชัด เป็นการกระทำที่เป็นการบิดเบือนหรือหักดิบกฎหมายนั่นเอง
การกระทำของ นายศักดิ์ เตชาชาญ ดังกล่าวนี้แม้ในปัจจุบันจะเป็นการกระทำที่ไม่เป็นความผิดทางอาญา ผู้เขียนก็เห็นว่าเป็นการบั่นทอนความเชื่อถือศรัทธาของศาลรัฐธรรมนูญไปไม่น้อย
* คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (อดีตอัยการสูงสุด)
07 Dec 06 | by BioLawCom | tags บทความกฎหมาย
เมื่อเราพูดถึงการทุจริตประพฤติมิชอบของเจ้าพนักงานในการยุติธรรมแล้วในกฎหม ายอาญาของไทยเราก็ย่อมจะหมายถึงโดยเฉพาะอย่างยิ่งความผิดตามประมวลกฎหมายอาญ ามาตรา 201, 202 ซึ่งการทุจริตประพฤติมิชอบดังกล่าวนี้ก็เป็นการกระทำที่เป็นความผิดอาญาตามก ฎหมายอาญาเยอรมันเช่นเดียวกันและเป็นความผิดอาญาในทุกประเทศ แต่ความผิดฐานบิดเบือนกฎหมายในกฎหมายอาญาเยอรมันนั้น ไม่มีในกฎหมายอาญาของไทยเรา
ความผิดฐานบิดเบือนกฎหมายเป็นความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรมที่ไม่ใ ช่เรื่องที่เกี่ยวกับของกำนัลหรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด แต่เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการใช้กฎหมายอย่างไม่ตรงไปตรงมาที่ไม่มีของกำนัลเ ข้ามาเกี่ยวข้อง
การบิดเบือนหรือหักดิบกฎหมาย คือ การกระทำที่ขัดต่อกฎหมายอย่างชัดแจ้ง และในกรณีที่กฎหมายอาจตีความได้หลายอย่าง การบิดเบือนหรือหักดิบกฎหมายก็คือการตีความกฎหมายที่เกินเลยขอบเขตที่ยอมรับ ได้ในทางวิชาการ
การกระทำที่เป็นการบิดเบือนหรือหักดิบกฎหมายเคยเกิดขึ้นมาแล้วในประเทศไทยเรา เช่น กรณีการตีความกฎหมายของศาลรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับการพ้นตำแหน่งของรัฐมนตรีช่วย ว่าการกระทรวงการคลัง (ดู คณิต ณ นคร "ศาลรัฐธรรมนูญกับการตีความกฎหมาย" มติชนสุดสัปดาห์ ปีที่ 19 ฉบับที่ 985 วันที่ 6 กรกฎาคม 2542 หรือใน นิติธรรมอำพรางในนิติศาสตร์ไทย สำนักพิมพ์วิญญูชน กันยายน 2548 หน้า 49)
ในบทความนี้ผู้เขียนจึงจะได้การวิเคราะห์ถึงการบิดเบือนหรือหักดิบกฎหมายของ ศาลรัฐธรรมนูญที่แม้จะได้ถูกยกเลิกไปแล้วต่อไป ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นอุทาหรณ์สอนใจสำหรับนักกฎหมายและผู้ใช้กฎหมายทั้งหลาย
อนึ่ง ในบทความนี้เมื่อผู้เขียนกล่าวถึง "รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน" ผู้เขียนหมายถึง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปี พ.ศ.2540 ที่เพิ่งถูกยกเลิกไปในการยึดอำนาจการปกครอง และเมื่ออ้างถึง "ราชกิจจานุเบกษา" ผู้เขียนหมายถึง ราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 118 ตอนที่ 77 ก วันที่ 7 กันยายน 2544
อันเป็นราชกิจจานุเบกษาที่ลงพิมพ์คำวินิจฉัยของศาลศาลรัฐธรรมนูญใน "คดีซุกหุ้น" ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ตกเป็นผู้ถูกกล่าวหา ซึ่งมีอยู่ 3 เล่ม
อิทธิพลในทางการเมืองต่อนักกฎหมาย
คงต้องยอมรับ กันได้กระมังว่าขณะเมื่อครั้งที่ศาลรัฐธรรมนูญยังคงมีอยู่นั้น ความเชื่อถือศรัทธาของประชาชนต่อศาลรัฐธรรมนูญมีปัญหาอยู่มากทีเดียว ทั้งๆ ที่ศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรแรกและเป็นองค์กรที่สำคัญที่เกิดขึ้นหลังจาก ปฏิรูปการเมือง
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญของไทยเรานั้นประกอบด้วยผู้พิพากษาศาลฎีกาจำนวน 5 คน ตุลาการศาลปกครองสูงสุดจำนวน 2 คน นอกนั้นเป็นผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์จำนวน 5 คน และผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์จำนวน 3 คน ดั่งนี้ โครงสร้างของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญของไทยเราในหลักการใช้ได้ดีทีเดียว เพราะนอกจากจะเป็นการสร้างเอกภาพของอำนาจตุลาการโดยมีผู้พิพากษาศาลฎีกาและต ุลาการศาลปกครองสูงสุดร่วมประกอบเป็นส่วนหนึ่งแล้ว ยังเปิดโอกาสให้ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกได้เข้ามามีส่วนร่วมในการวินิจฉัยคดีด้วย
ระบบตุลาการศาลรัฐธรรมนูญของเราจึงเป็น "ระบบกึ่งเปิด" ทำนองเดียวกับศาลสูงสุดของประเทศญี่ปุ่น
คงต้องยอมรับกันอีกต่อไปว่าสังคมไทยเรานั้นเป็นสังคมที่นำไปสู่ระบบอุปถัมภ์ ได้ง่ายมาก เพราะสังคมไทยเป็นสังคมครอบครัว การเลือกสรรบุคคลในองค์กรอิสระจึงอาจถูกอิทธิพลภายนอกซึ่งก็คืออิทธิพลทางกา รเมืองแทรกได้ง่าย และเพื่อเป็นการป้องกันการเล่นพรรคเล่นพวกรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนจึงได้ฝากคว ามหวังไว้กับวุฒิสภาว่าจะเป็นกลางในทางการเมืองที่เพียงพอ แต่แล้วความเป็นกลางในทางการเมืองของวุฒิสภาก็ถูกตั้งคำถามจากสังคมอยู่ไม่น ้อย ความเชื่อถือศรัทธาของประชาชนต่อวุฒิสภาจึงมีปัญหาอยู่มากเช่นเดียวกับศาลรั ฐธรรมนูญ
การเลือกและให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดแรกนั้นกระท ำโดยวุฒิสภาที่มีอยู่เดิมที่มาจากการแต่งตั้งอันมี นายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธานวุฒิสภา และจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญหลายเรื่องตั้งแต่เริ่มต้นทำหน้าที่ความเชื่อถือศรัทธาของประชาชนต่อตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดแรกก็เริ่มมีปัญหา
ต่อมาเมื่อผู้ทรงคุณวุติสาขานิติศาสตร์ว่างลงหนึ่งคนและคณะกรรมการสรรหาได้เ สนอชื่อผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์จำนวน 2 คน ให้วุฒิสภาทำการเลือกตามกติกา บุคคลที่กรรมการสรรหาเสนอให้วุฒิสภาคัดเลือก คือ ดร.ไพศิษฐ์ พิพัฒนกุล นิติศาสตรบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยโตเกียว ประเทศญี่ปุน นิติศาสตรบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และปริญญาเอกทางกฎหมายจากมหาวิทยาลัยแห่งกรุงบอนน์ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และ นายศักดิ์ เตชาชาญ ซึ่งมีวุฒิทางกฎหมายชั้นปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เท่านั้น แต่ผลปรากฏว่า ดร.ไพศิษฐ์ พิพัฒนกุล ไม่ได้รับการคัดเลือก ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกคือ นายศักดิ์ เตชาชาญ
กรณีนี้จึงทำให้ผู้เขียน (และอาจมีผู้อื่นด้วย) มีคำถามอยู่ในใจตลอดมาว่ามาตรฐานผู้ทรงคุณวุฒิทางนิติศาสตร์ของวุฒิสภา นั้นวัดกันอย่างไร
กระแสสังคมและอิทธิพลในการเมืองต่อนักกฎหมายนั้น ผู้เขียนเคยประสบมาแล้วด้วยตนเองในขณะดำรงตำแหน่งอัยการสูงสุดระหว่างปี พ.ศ.2537 ถึง 2540 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคดี ส.ป.ก.4-01 ความรุนแรงของกระแสสังคมและอิทธิพลในการเมืองในคดีดังกล่าวนี้นั้นมีสูงมาก จนผู้เขียนซึ่งเป็นข้าราชการประจำเกือบเอาตัวไม่รอด
ความเป็นอิสระของผู้พิพากษา หรือตุลาการ
ความเป็นอิสระของผู้พิพากษาหรือตุลาการ (Independence of the Judiciary) นั้น เป็นหัวใจของการกระทำหน้าที่ของผู้พิพากษาหรือตุลาการ และเป็นสิ่งที่ผู้ที่เป็นผู้พิพากษาหรือตุลาการทั้งหลายจักต้องตระหนัก ในอดีต ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ ศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ และองค์คณะอีกท่านหนึ่งถ้าจำไม่ผิดคือ อาจารย์โพยม เลขยานนท์ ได้ตัดสินจำคุกคนขนาดรัฐมนตรีมาแล้ว ท่านทั้งสามจึงได้รับการกล่าวขวัญถึงตลอดมา
ผู้พิพากษาหรือตุลาการนั้นจะหวั่นไหวกับอิทธิพลใดๆ และกระแสสังคมไม่ได้โดยเด็ดขาด ผู้พิพากษาหรือตุลาการจักต้องตั้งมั่นในความเป็นอิสระของตน แต่ในอดีตปรากฏว่าอย่างน้อยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเองก็เคยส่อให้เห็นถึงความอ ่อนไหวของตนต่อกระแสการเมืองและกระแสสังคม เพราะในคำวินิจฉัยส่วนตนของ นายอนันต์ เกตุวงศ์ ในคดีที่รู้จักกันทั่วไปว่า "คดีซุกหุ้น" ที่มี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ตกเป็นผู้ถูกกล่าวหา มีข้อความตอนหนึ่งว่า
สำหรับความกังวลใจที่ปรากฏในสื่อมวลชนทั้งไทยและต่างประเทศที่ว่าการเลือกต ั้งทั่วไปครั้งแรกภายในรัฐธรรมนูญใหม่ทิ้งปัญหาที่ต้องขบคิดอยู่ 2 ประการคือ ถ้าผู้ถูกร้องไม่ได้เป็นนายกรัฐมนตรีต่อไปรัฐบาลชุดแรกที่มีเสถียรภาพในประว ัติศาสตร์ประชาธิปไตยของไทยก็อาจจะสั่นคลอน แต่ถ้าตรงกันข้ามผู้ถูกร้องพ้นข้อกล่าวหาจากกฎเกณฑ์ที่แตกต่างจากข้อวินิจฉั ยเดิม มาตรการต่างๆ ที่ใช้กำจัดการทุจริตประพฤติมิชอบในระยะยาวก็จะไม่มีประสิทธิภาพนั้น ขอยืนยันว่าความกังวลใจดังกล่าวจะเกิดขึ้นไม่ได้
เพราะศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยคำร้องตามมาตรา 295 ไปแล้วเพียง 8 เรื่องเท่านั้น และยังไม่มีข้อเท็จจริงในคำร้องใดเหมือนกับกรณีของผู้ถูกร้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องทรัพย์สินที่เป็นหุ้น ส่วนกรณีของ นายประยุทธ มหากิจศิริ นั้นได้ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน ที่เป็นบัญชีเงินฝากธนาคารกับที่ดินทั้งของนาย ประยุทธ เอง และของคู่สมรสมีจำนวนน้อยกว่าที่ไม่ได้ยื่น และไม่มีกรณีเรื่องหุ้นเข้ามาเกี่ยวข้อง จึงแตกต่างในประเด็นเรื่องข้อเท็จจริงกับผู้ถูกร้องโดยชัดเจน (ดู ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 2 หน้า 441)
ถ้อยคำที่ได้ยกมานี้เป็นถ้อยคำที่ผู้เขียนเห็นว่าไม่ชอบที่ปรากฏในคำวินิจฉั ยใดๆ ของศาลรัฐธรรมนูญ เพราะ "คดีซุกหุ้น" นี้มีประเด็นพิจารณาเพียงสองประการ คือ เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลรัฐธรรมนูญที่จะวินิจฉัยชี้ขาดหรือไม่ และหากเป็นคดีอยู่ในอำนาจศาลรัฐธรรมนูญแล้ว กรณีก็จะต้องวินิจฉัยต่อไปว่า ข้อเท็จจริงฟังได้หรือไม่ว่าผู้ถูกร้องได้กระทำผิดรัฐธรรมนูญ มาตรา 295 ฉะนั้น เหตุผลใดๆ ที่หยิบยกขึ้นมากล่าวในคำวินิจฉัยชอบที่จะต้องเป็นเหตุผลโดยตรงในการรับฟังแ ละในการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานเท่านั้น
ยิ่งถ้อยคำที่ว่า "ขอยืนยันว่าความกังวลใจดังกล่าวจะเกิดขึ้นไม่ได้ เพราะศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยคำร้องตามมาตรา 295 ไปแล้วเพียง 8 เรื่องเท่านั้น" ด้วยแล้วยิ่งไม่ชอบที่ปรากฏในคำวินิจฉัยเลย
การชั่งน้ำหนักพยานหลักฐาน และจิตวิทยาคำให้การพยานบุคคล
เกี่ยวกับ "คดีซุกหุ้น" ที่มี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ตกเป็นผู้ถูกกล่าวหานั้น ผู้เขียนได้เคยวิเคราะห์ปัญหาข้อกฎหมายมาบ้างแล้ว โดยผู้เขียนได้วิเคราะห์ว่า ในคดีดังกล่าวศาลรัฐธรรมนูญต้องเป็น "ศาลพิจารณาพิพากษาเฉพาะข้อกฎหมาย" (Review Court) ไม่ใช่ "ศาลพิจารณา" (Trial Court) (ดู คณิต ณ นคร "ศาลรัฐธรรมนูญในคดียื่นบัญชีทรัพย์สิน" มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 23 และ 24 มีนาคม 2544 หรือใน รัฐธรรมนูญกับกระบวนการยุติธรรม สำนักพิมพ์วิญญูชน มิถุนายน 2549 หน้า 80)
โดยที่ใน "คดีซุกหุ้น" นี้ยังมีปัญหาเกี่ยวกับการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานด้วย ผู้เขียนจึงจะวิเคราะห์ปัญหาดังกล่าวนี้ต่อไป
ตามหลักกฎหมายนั้น การนั่งพิจารณาคดีของศาล (รวมทั้งศาลรัฐธรรมนูญด้วย) ต้องมีผู้พิพากษาหรือตุลาการครบองค์คณะ และผู้พิพากษาหรือตุลาการซึ่งมิได้นั่งพิจารณาคดีใดจะทำคำพิพากษาหรือวินิจฉ ัยคดีนั้นไม่ได้ (ดู รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน มาตรา 236)
หลักกฎหมายดังกล่าวนี้ย่อมตรงกับหลักตรรกศาสตร์อันเป็นหลักสำคัญในการชั่งน้ ำหนักพยานหลักฐาน กล่าวคือ ผู้ที่จะชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานได้ต้องเป็นผู้ที่ได้สัมผัสพยานหลักฐานต่างๆ มาด้วยตนเอง เพราะหากให้ผู้ที่มิได้สัมผัสกับพยานมาโดยตรงด้วยตนเองเป็นผู้ชั่งน้ำหนักพย านหลักฐานแล้ว ก็ย่อมจะไม่สามารถที่อธิบายและให้เหตุผลด้วยศาสตร์ใดๆ ได้เลย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานบุคคล เพราะความน่าเชื่อถือของพยานบุคคลก็ดี ความสามารถในการจดจำของพยานบุคคลก็ดี เหล่านี้ผู้ชั่งน้ำหนักพยานบุคคลต้องสัมผัสกับพยานบุคคลโดยตรงด้วยตนเอง
กล่าวคือ พยานบุคคลต้องให้การต่อหน้าตน แต่ทางปฏิบัติในอดีตของศาลยุติธรรมของไทยเราได้มีการทำผิดหลักการเกี่ยวกับเรื่องนี้มาโดยตลอดจนต้องเน้นย้ำหลักการนี้ไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน (ดู คณิต ณ นคร กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พิมพ์ครั้งที่ 7 สำนักพิมพ์วิญญูชน กุมภาพันธ์ 2549 หน้า 241-252)
อย่างไรก็ตาม แม้จะได้มีหลักการดังกล่าวในรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน แต่ใน "คดีซุกหุ้น" ที่มี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ตกเป็นผู้ถูกล่าวหานั้น นายศักดิ์ เตชาชาญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญซึ่งเพิ่งได้รับเลือกเข้าไปทำหน้าที่และไม่ได้สัมผัสพย านบุคคลใดๆ ในคดีโดยตรงด้วยตนเอง แต่ก็ได้เข้าร่วมในการวินิจฉัยชี้ขาดข้อเท็จจริงในคดีดังกล่าวด้วย การกระทำของ นายศักดิ์ เตชาชาญ จึงเป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือขัดต่อกฎหมายอย่างแจ้งชัด เป็นการกระทำที่เป็นการบิดเบือนหรือหักดิบกฎหมายนั่นเอง
การกระทำของ นายศักดิ์ เตชาชาญ ดังกล่าวนี้แม้ในปัจจุบันจะเป็นการกระทำที่ไม่เป็นความผิดทางอาญา ผู้เขียนก็เห็นว่าเป็นการบั่นทอนความเชื่อถือศรัทธาของศาลรัฐธรรมนูญไปไม่น้อย
--------------------------------
* คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (อดีตอัยการสูงสุด)
07 Dec 06 | by BioLawCom | tags บทความกฎหมาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น