"จารุวรรณ" แพ้คดี ขรก.สตง.ซ้ำซาก ศาล ปค.สั่งเพิกถอนคำสั่งแต่งตั้ง"ผอ.สำนักฯ" ไม่ชอบด้วย กม.อีก

23/9/53
โดยมติชน เมื่อ 23 ก.ย.2553

ศาลปกครองกลาง มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 23 กันยายนในคดีที่

นางจุฑาทิพย์ ศิริรักษ์ ข้าราชการระดับ 8 สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.)ภูมิภาคที่ 15 (จ.สงขลา) 

ฟ้อง

1. สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) และ

2. ผู้่่ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน(คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา) เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และ 2 ตามลำดับ 

กรณีออกคำสั่งแต่งตั้ง

นายเฉลิมชัย ทั่วจบ ให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการตรวจเงินแผ่นดิน (นักบริหาร8) สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาคที่ 15 (จ.สงขลา)

ไม่ชอบด้วยกฎหมาย 

โดยศาลมีคำพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว
ทั้งนี้ ผู้ฟ้อง ได้แก่ นางจุฑาทิพย์ ข้าราชการซี8 สตง.ภูมิภาคที่ 15 (จ.สงขลา)และรักษาราชการแทนผู้ำอำนวยการตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาค ระดับ 9 (นักบริหาร9) ได้รับความเดือดร้อนเสียหาย เนื่องจาก ผู้ว่าการฯ ออกคำสั่งโดยลดระดับตำแหน่งของผู้อำนวยการตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาค (นักบริหาร9) สตง.ภูมิภาคที่ 15 (จ.สงขลา) ตำแหน่งที่2607 ลงหนึ่งระดับ เป็นตำแหน่งนักบริหาร 8 เพื่อให้สามารถแต่งตั้งนายเฉลิมชัย ทั่วจบ ได้ทำให้ตนไม่ได้รับโอกาสในการคัดเลือกเพื่อเลื่อนขึ้นดำรงตำแหน่งนักบริหาร 9

แต่เนื่องจากการกำหนดตำแหน่งตามโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการใหม่ ตามประกาศราชกิจจานุเบกษา วันที่ 9 มีนาคม 2549 คณะกรรมการข้าราชการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน(ก.ตง.) ได้กำหนดตำแหน่งนักบริหารไว้เพียง 2 ระดับ คือ 

1.นักบริหาร10 ระดับ10 รองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และ

2.นักบริหาร9 ระดับ9 ผู้อำนวยการสำนักงาน 

โดยที่การแต่งตั้งนักบริหาร8 ระดับ8ถึง นักบริหาร10 ระดับ10 ได้ถูกยกเลิกไปแล้ว

ดังนั้น การลดระดับตำแหน่งของผู้อำนวยการตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาค (นักบริหาร9) ลงหนึ่งระดับ เป็นตำแหน่งนักบริหาร 8 เพื่อแต่งตั้งนายเฉลิมชัย ทั่วจบ ให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวตามคำสั่งของคุณหญิงจารุวรรณ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย 

เพราะคุณหญิงจารุวรรณ ไม่มีอำนาจที่จะปรับลดระดับตำแหน่ง ของตำแหน่งที่ ก.ตง.ไม่ได้กำหนดให้
ดังนั้น เมื่อตำแหน่งผู้ำอำนวยการตรวจเงินแผ่นดิน (นักบริหาร9) สตง.ภูมิภาคที่ 15 (จ.สงขลา) ก.ตง.ได้กำหนดให้เป็นตำแหน่งนักบริหาร 9 ตามโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการเดิม (พ.ศ.2545) อยู่แล้ว ตำแหน่งดังกล่าวจึงมิใช่ตำแหน่งที่ ก.ตง.กำหนด การลดระดับตำแหน่งดังกล่าวเพื่อให้นายเฉลิมชัย ดำรงตำแหน่ง จึงเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์การจัดคนลงตามโครงสร้างใหม่ที่คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินได้ให้ความเห็นชอบเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ศาลพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งที่แต่งตั้งนายเฉลิมชัย ทั่วจบ ให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาค (นักบริหาร8)ตำแหน่งเลขที่ 2607 สตง.ภูมิภาคที่15 (จ.สงขลา)โดยให้มีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่คำสั่งดังกล่าวมีผลบังคับใช้ และให้ผู้ว่าฯสตง.พิจารณาแต่งตั้งข้าราชการ รวมทั้งตัวนางจุฑาทิพย์ให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวอย่างถูกต้องตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป คำขออื่นให้ยก

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้ คุณหญิงจารุวรรณ แพ้คดีการแต่งตั้งข้ารากชาร สตง.ดดยไม่ชอบมาแล้ว จำนวน 2 คดี จากที่มีผู้ฟ้องทั้งหมด 4 คดี โดยศาลปกครองกลางได้เพิกถอนคำสั่งแต่งตั้งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายจำนวน 2คดี ดังนี้

1. เพิกถอนคำสั่งแต่งตั้ง น.ส.สุมิตรา เนตรสว่าง จากเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายใน 8 กลุ่มงานตรวจสอบภายใน สตง.(ส่วนกลาง)ไปเป็นนักวิชาการตรวจเงินแผ่นดิน 8 กลุ่มตรวจสอบการเงินที่ 2 สตง.ภูมิภาคที่ 1 ตั้งแต่มีนาคม 2549 (หมายเลขแดงที่ 88/2552)


2.เพิกถอนคำสั่งแต่งตั้ง นายอภิชัย ล้อไพบูลย์ทรัพย์ จากผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย สตง.ไปดำรงตำแหน่งผู้ตรวจเงินแผ่นดิน 2 ระดับ 9 เนื่องจากเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบเพราะไม่ทำตามมติคณะกรรมการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งตามโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการภายในใหม่ที่เสนอให้แต่งตั้งนายอภิชัย ให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย(หมายเลขแดงที่ 1357/2552)

ทั้งสองคดีเป็นการใช้ดุลพินิจไม่ชอบคือไม่ทำตามมติคณะกรรมการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งตามโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการภายในใหม่ซึ่งพิจารณาเสนอแต่งตั้งบุคคลทั้งสองตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน(คตง.)ได้กำหนดไว้ แต่คุณหญิงจารุวรรณอ้างว่า บุคคลทั้งสองคุณสมบัติไม่เหมาะสม

ก่อนหน้านี้ เมื่อเวลา 10.30 น. วันเดียวกัน นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส รองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ในฐานะรักษาการ ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน เดินทางมาขอเป็นผู้ร้องสอดในคดีที่ผู้ตรวจการแผ่นดินยื่นฟ้องคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา อดีตผู้ว่าdkiฯ โดยขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) ลงวันที่ 18 สิงหาคม 2553 ซึ่งคุณหญิงจารุวรรณ ได้ออกคำสั่งยกเลิกคำสั่งแต่งตั้งรองผู้ว่าการฯ เป็นผู้รักษาการผู้ว่าการฯ โดยระบุว่า เนื่องจากเป็นการออกคำสั่งของผู้ไม่มีอำนาจ 

เพราะ ผู้ออกคำสั่ง(คุณหญิงจารุวรรณ)ได้พ้นจากตำแหน่งไปแล้ว พร้อมทั้งขอให้ศาลกำหนดมาตรการหรือวิธีการคุ้มครองเพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนการพิพากษา แต่ต่อมาศาลปกครองชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องของผู้ตรวจการแผ่นดิน เพราะมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียโดยตรง ทำให้นายพิศิษฐ์ ตัดสินใจเดินทางมายื่นฟ้องด้วยตัวเอง

นายพิศิษฐ์ ให้สัมภาษณ์ว่ามายื่นคำร้องขอเป็นผู้ร้องสอดในคดีดังกล่าว นอกจากนี้ ยังขอให้ศาลได้ดำเนินการไต่สวนฉุกเฉินและออกมาตรการหรือวิธีการคุ้มครองเพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราวแก่ผู้ร้องสอดด้วย เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของราชการ และให้คุณหญิงจารุวรรณหยุดการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นอย่างอื่น

"เหตุที่ทำให้ผมตัดสินใจเดินทางมาฟ้องท่านครั้งนี้เพราะว่า ระหว่างที่รักษาการอยู่นั้นมีปัญหาและอุปสรรคในการทำงานมากมาย อีกทั้งยังก่อให้เกิดความสับสนต่อข้าราชการในหน่วยงาน สตง.และหน่วยงานราชการอื่นๆ อีกด้วย จึงตัดสินใจเดินทางมาเป็นผู้ร้องสอดในวันนี้ เรื่องทั้งหมดที่เกิดขึ้นต้องทำความเข้าใจด้วยว่าไม่ใช่ปัญหาส่วนตัวแต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับตัวบุคคล" นายพิศิษฐ์ กล่าว

นายพิศิษฐ์กล่าวว่า เหตุการณ์ที่คุณหญิงจารุวรรณเข้ามาตบไหล่นั้น เป็นเรื่องจริง และได้แถลงข่าวเล่าให้สื่อมวลชนฟัง ซึ่งตอนนั้นคุณหญิงจารุวรรณก็นั่งอยู่ด้วย และก็ไม่ได้โต้แย้งอะไร แสดงว่าคุณหญิงจารุวรรณก็ยอมรับการกระทำดังกล่าวด้วย

เมื่อถามว่าทั้งรถยนต์ประจำตำแหน่ง โทรศัพท์มือถือ และห้องทำงานขณะนี้ได้ดำเนินการอย่างไรบ้าง รักษาการ ผู้ว่าการฯ กล่าวว่า การดำเนินการทุกอย่างก็ปฏิบัติตามระเบียบราชการ เมื่อคุณหญิงจารุวรรณได้พ้นจากภาระหน้าที่ไปแล้ว ทรัพย์สมบัติที่เป็นของหน่วยงานราชการทั้งหมดก็จำเป็นจะต้องนำมาคืน แต่ด้วยความอะลุ่มอะล่วยเก็ได้แต่เพียงทำหนังสือขอคืนไปแต่จนถึงบัดนี้เป็นเวลากว่า 2 เดือนแล้วท่านก็ยังไม่ได้นำมาคืนแต่อย่างใด 

หากคุณหญิงจารุวรรณกระทำเช่นนี้แล้วข้าราชการ สตง.จะไปดำเนินการกับหน่วยงานอื่นได้อย่างไร ในเมื่อ สตง.ต้องเป็นหน่วยงานที่คอยดูแลพิทักษ์ทรัยพ์สินของรัฐ แต่คุณหญิงจารุวรรณซึ่งเป็นผู้ใหญ่ก็มาทำเสียเอง
Read more ...

ศาลปกครองตัดสินเพิกถอนคำสั่งให้ออก 3 อ. ม.ราชภัฎนครศรีธรรม ให้ชดใช้ค่าเสียหาย 2.4 แสน

2/9/53
เมื่อวันที่ 2 ก.ย.2553

อ.คมกฤช วางหา, 
อ.ปริญดา ตันเสวี,และ
อ.วีลายา มะห์มูดีย์


อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

ได้ร่วมแถลงข่าวกับสื่อมวลชนว่า

วันที่ 25 สิงหาคม 2553 ศาลปกครองนครศรีธรรมราชนั่งบัลลังค์ตัดสินคดี 3 ในทีม 14

อาจารย์ ที่ถูกอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชไล่ออก ระบุชัด การลงโทษผู้ฝ่าฝืนหรือกระทำผิดต้องมีการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงหรือสอบสวนทางวินัยตามที่กฎหมายกำหนดให้ครบถ้วนพร้อมให้ชดใช้ค่าเสียหายภายใน 90 วัน รวมกว่า 2.4 แสนบาท

3 อาจารย์ ม.ราชภัฏนครศรีธรรมราช ร่วมกันแถลงต่อไปอีกว่า

ตามที่ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช โดย 

ผศ.ฉัตรชัย ศุกระกาญจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

ได้มีคำสั่งให้ 14 อาจารย์จากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ถูกไล่ออกอย่างกะทันหันเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2551 ทั้งที่อาจารย์เหล่านั้นไม่ได้รับการตรวจสอบมูลความผิดตามกระบวนการยุติธรรมแต่อย่างใด
จึงได้ขอความเป็นธรรมโดยทยอยส่งคำฟ้องไปที่ศาลปกครองนครศรีธรรมราช

ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2551- มกราคม 2552 นั้น
ต่อมาในวันที่ 25 สิงหาคม 2553 ที่ผ่านมาศาลปกครองนครศรีธรรมราชได้มีคำพิพากษา 3

คดีแรก ประกอบด้วย  

อ.คมกฤช วางหา 
อ.ปริญดา ตันติเสวี และ 
อ.วีลายา มะห์มูดีย์
คำพิพากษาอ้างถึงเอกสารสัญญาจ้างและประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ระบุ

"โดยที่ระเบียบกฎหมายได้กำหนดขั้นตอนหรือวิธีการในการลงโทษผู้ฝ่าฝืนหรือกระทำผิดลักษณะดังกล่าวไว้แล้ว เช่น การลงโทษว่ากล่าวตักเตือน การทำทัณฑ์บน ซึ่งต้องมีการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงหรือสอบสวนทางวินัยตามที่กฎหมายกำหนดให้ครบถ้วนเพื่อทราบรายละเอียดแห่งพฤติการณ์แห่งการกระทำและการให้สิทธิผู้ถูกกล่าวหามีโอกาสโต้แย้งแสดงพยานหลักฐานหักล้าง เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงในสำนวนคดีว่ามีการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อดำเนินการดังกล่าวแต่อย่างใด 

ดังนั้นข้อกล่าวอ้างของผู้ถูกฟ้องคดทั้งสองจึงปราศจากพยานหลักฐาน ไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะรับฟังได้ว่าผู้ฟ้องคดีกระทำผิดสัญญาจ้างอันเป็นเหตุที่ทำให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองมีสิทธิเลิกจ้างโดยชอบธรรมตามกฎหมายได้"

สะท้อนว่าอาจารย์สัญญาจ้างเหล่านี้ไม่มีความผิดและถูกให้ออกจากราชการโดยไม่ชอบธรรม พร้อมให้มหาวิทยาลัยจ่ายค่าเสียหายรวม จำนวน 244,354 บาท 

ประกอบด้วย

-ค่าตอบแทนการออกจากราชการโดยไม่มีความผิด 
-ค่าเสียหายที่พึงได้จากการขาดรายได้ตามสัญญา 

ทั้งนี้ยังไม่รวมดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระแล้วเสร็จตามคำขอของผู้ฟ้องคดี ร้อยละ 7.5 ต่อปี
และให้คืนค่าธรรมเนียมศาลให้ผู้ฟ้องคดีบางส่วนตามส่วนของการชนะคดี  

ทั้งนี้ดำเนินการให้เป็นตามคำพิพากษาของศาลภายใน 90 วันนับแต่วันที่คดีถึงที่สุด

หนึ่งในอาจารย์ผู้ชนะคดีท่านหนึ่งกล่าวด้วยความดีใจหลังฟังพิพากษาว่า 

เหตุมาจากระบบงานภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชที่คร่ำครึ 

เบี่ยงเบนและขาดจิตวิญญาณมหาวิทยาลัย
อ้างแต่วัฒนธรรมองค์กรเพื่อรักษาผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง

จนเลยเถิดขาดจริยธรรมและคุณธรรมแทนที่จะพัฒนานำพาองค์กรให้มีอุดมการณ์รับใช้ท้องถิ่น
กลับเถลิงแก่อำนาจรังแกผู้อ่อนแอกว่า

ทั้งที่กฎหมายรัฐธรรมนูญเน้นว่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ย่อมได้รับการคุ้มครอง

ความเป็นธรรมครั้งนี้ถือเป็นชัยชนะของคนเล็กคนน้อยที่กล้าลุกขึ้นมาต่อสู้และแสวงหาความยุติธรรม

พร้อมวอนเพื่อนอาจารย์สัญญาจ้างศึกษากฎหมายเพื่อสร้างปกป้องศักดิ์ศรีและธำรงมาตรฐานทางจริยธรรม
Read more ...

ศาลปกครองเพิกถอนคำสั่งไล่ออก 3 อาจารย์ ม.ราชภัฎนครศรีธรรมราช

2/9/53
โดยโพสต์ทูเดย์ เมื่อ 2 กันยายน 2553

ศาลปกครองพิพากษาให้มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีฯชดใช้เงินกว่า2.4 แสน หลังไล่ออก3อาจารย์ไม่เป็นธรรม

1. อ.คมกฤช วางหา 
2. อ.ปริญดา ตันเสวี และ
3. อ.วีลายา มะห์มูดีย์ อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช 

ร่วมกันแถลงข่าวว่า 

เมื่อวันที่ 25ส.ค.2253 ศาลปกครองนครศรีธรรมราช ได้พิพากษาตัดสินคดี 3 ใน 14 อาจารย์ ที่

ผศ.ฉัตรชัย ศุกระกาญจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

ไล่ออกอย่างไม่เป็นธรรม และไม่มีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงก่อน เหตุเกิดเมื่อวันที่ 12 ต.ค.2551

ทั้งนี้ คำพิพากษาศาลปกครองอ้างถึงเอกสารสัญญาจ้างและประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ กำหนดขั้นตอนหรือวิธีการในการลงโทษผู้ฝ่าฝืนหรือกระทำผิดลักษณะดังกล่าวไว้ เช่น 

การลงโทษว่ากล่าวตักเตือน การทำทัณฑ์บน ต้องมีการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงหรือสอบสวนทางวินัยตามที่กฎหมายกำหนดให้ครบถ้วน

เพื่อทราบรายละเอียดแห่งพฤติการณ์แห่งการกระทำและการให้สิทธิผู้ถูกกล่าวหามีโอกาสโต้แย้งแสดงพยานหลักฐานหักล้าง

ดังนั้น เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ได้ดำเนินการตามขั้นตอนดังกล่าว ข้อกล่าวอ้างจึงปราศจากพยานหลักฐาน ไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะรับฟังได้ว่าผู้ฟ้องคดีกระทำผิดสัญญาจ้าง อันเป็นเหตุที่ทำให้ผู้ถูกฟ้องมีสิทธิเลิกจ้างโดยชอบธรรมตามกฎหมายได้ และให้มหาวิทยาลัยจ่ายค่าเสียหายรวมจำนวน 244,354 บาท
Read more ...