ข้อมูลจาก หนังสือขอนแก่นแมกกาซีน ฉบับที่ ๗๗ ประจำวันที่ ๕-๒๐ ตุลาคม ๒๕๔๙
ใบสั่งเจ้าพนักงานจราจร
นักขับทั้งหลายคงจะรู้จักใบสั่งเจ้าพนักงานจราจรเป็นอย่างดีนะครับ คงมีน้อยท่านที่จะไม่รู้จักกับใบสั่ง ไม่เป็นไรครับ ถึงจะขับรถดีแล้วก็อาจมีการผิดผลาดได้บ้าง แต่การสะสมใบสั่งเยอะๆ นั้นไม่ดีแน่ ลองมาทำความรู้จักกับใบสั่งบ้างดีมั้ยครับ
๑. ใบสั่งคืออะไร
ใบสั่งเป็นภาษาที่เราเรียกแบบชาวบ้านๆ แต่ภาษากฎหมายคือ "ใบรับแทนใบอนุญาตขับขี่" ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ มาตรา ๑๔๐ วรรคสาม ซึ่งเมื่อถูกจับกุมเจ้าหน้าที่ตำรวจจะเรียกเก็บใบอนุญาตขับขี่ไป แล้วให้ใบรับแทนใบอนุญาตขับขี่มาใช้แทนไปก่อน คำว่า "ใบสั่ง" จึงเป็นคำเรียกรวมๆ ครับ เนื่องจากใบสั่ง ๑ เล่ม จะมี ๒๕ ชุดใบสั่ง ซึ่งใน ๑ ชุดประกอบด้วย ๔ แผ่น ๔ สี คือ ใบรับแทนใบอนุญาตขับขี่(สีขาว) กับสำเนาอีก ๓ แผ่น (สีเหลือง สีชมพู สีฟ้า) เพราะฉะนั้นสิ่งที่ท่านได้รับมาคือใบรับแทนใบอนุญาตขับขี่ครับ ใบสั่งนั้นเป็นสิ่งคล้ายบันทึกจับกุมที่เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ทำการจับกุมผู้กระทำผิดในคดีอาญา จะต้องทำขึ้นหลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจจะนำตัวผู้ต้องหาพร้อมบันทึกจับกุมส่งให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดี แต่เนื่องจากคดีจราจรเป็นคดีที่มีโทษเพียงเล็กน้อยเป็นโทษปรับเสียส่วนใหญ่ ( ยกเว้นขับรถประมาท เมาสุรา ใช้สารเสพติด ชนแล้วหนี และขับรถแข่ง มีโทษจำคุก) กฎหมายจึงอนุญาตให้ตำรวจจราจรเรียกเก็บใบอนุญาตขับขี่เพื่อเป็นประกันว่าท่านจะไปที่โรงพัก แล้วออกใบรับแทนใบอนุญาตขับขี่มอบเป็นที่ระลึกแก่ท่านให้ท่านไปชำระค่าปรับทีหลังภายในเวลา ๗ วัน ไม่ต้องเอาตัวท่านไปโรงพักในทันทีเหมือนคดีอาญาอื่นๆ
ใบสั่งมี ๒ ชนิด คือ
ก. ใบสั่งกรณีพบตัวผู้ขับขี่ คือ กรณีทั่วไป
ข. ใบสั่งกรณีไม่พบตัวผู้ขับขี่ หรือเรียกภาษาชาวบ้านว่าใบสั่งแปะ ใบสั่งผูก เป็นกรณีที่ผู้ขับขี่ซึ่งเป็นผู้กระทำผิดไม่อยู่ที่รถ หรืออยู่บริเวณใกล้เคียงไม่ยอมปรากฎกายให้เห็น เจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรก็จะออกใบสั่งแปะหรือผูกไว้ที่หน้ากระจกรถให้เห็นชัดเจน โดยไม่ยึดใบอนุญาตขับขี่มา แต่จะกลับไปแจ้งพนักงานสอบสวนลงประจำวันไว้เป็นหลักฐาน แล้วรอให้ท่านมาชำระค่าปรับ ถ้าท่านไม่มาชำระค่าปรับภายใน ๗ วัน ถ้าทราบที่อยู่ก็จะออกหมายเรียกไปที่บ้านท่าน ถ้าไม่ทราบหรือเรียกแล้วท่านไม่มาก็จะแจ้งอายัดไปที่กรมการขนส่งทางบกหรือขนส่งจังหวัด รอเช็คบิลกันตอนชำระภาษีประจำปีครับ และใบสั่งทั้งสองชนิดใช้แบบฟอร์มเดียวกันครับ
๒. อำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรที่เกี่ยวกับใบสั่ง
เจ้าหน้าที่ตำรวจทุกคนมีอำนาจในการจับกุมผู้กระทำผิดกฎจราจรครับ แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรเท่านั้นที่จะออกใบสั่งแก่ท่านได้ ลำดับขั้นตอนในการใช้อำนาจในการจับกุมผู้ขับขี่รถยนต์ที่กระทำผิดก็มีดังต่อไปนี้
๑. ตรวจสอบว่ามีการกระทำผิดหรือไม่ จะโดยวิธีใดก็แล้วแต่ อาทิ การมองเห็นการกระทำผิดต่อหน้าเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร หรือใช้เครื่องมือต่างๆ ในการตรวจสอบความผิด เช่น ใช้เครื่องจับความเร็ว
๒. ถ้าท่านขับรถอยู่จะเรียกให้ท่านหยุดแล้วขอตรวจใบอนุญาตขับขี่ พร้อมกับแจ้งข้อกล่าวหาที่ท่านได้กระทำผิดให้ทราบ ในบางความผิดที่ยังไม่ชัดเจนอาจใช้วิธีเรียกให้ท่านหยุดรถก่อน แล้วตรวจสอบหาความผิดต่อไป เช่น ตรววจวัดควันดำ เสียงดัง ตรวจหาความมั่นคงแข็งแรงของอุปกรณ์ของรถ ฯลฯ
๓. เจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรสามารถใช้ดุลพินิจในขั้นตอนนี้พิจารณาด้วยตนเองว่า สมควรจะออกใบสั่งให้แก่ท่านหรือไม่ หากเห็นว่าท่านกระทำผิดเพียงเล็กน้อยไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย หรือความเดือนร้อน แก่ผู้อื่น ก็อาจใช้อำนาจว่ากล่าวตักเตือน แก่ท่านก็ได้ แต่ถ้าเห็นว่าเป็นความผิดที่ไม่อาจอภัยให้ได้ เช่น ขับรถเร็ว ฝ่าฝืนไฟแดง แซงทางโค้ง ฯลฯ ก็จะออกใบสั่งให้เลยและเรียกเก็บใบอนุญาตขับขี่จากท่าน อำนาจในการว่ากล่าวตักเตือนนี้ เป็นคนละขั้นตอนกับอำนาจของพนักงานสอบสวนครับ
๔. หลังจากที่เรียกเก็บใบอนุญาตขับขี่จากท่านแล้ว ก็จะต้องนำใบอนุญาตขับขี่และสำเนาใบสั่งไปส่งให้พนักงานสอบสวนภายใน ๘ ชั่วโมง นับจากเวลาที่ได้ออกใบสั่งให้แก่ท่าน
Read more ...
ใบสั่งเจ้าพนักงานจราจร
นักขับทั้งหลายคงจะรู้จักใบสั่งเจ้าพนักงานจราจรเป็นอย่างดีนะครับ คงมีน้อยท่านที่จะไม่รู้จักกับใบสั่ง ไม่เป็นไรครับ ถึงจะขับรถดีแล้วก็อาจมีการผิดผลาดได้บ้าง แต่การสะสมใบสั่งเยอะๆ นั้นไม่ดีแน่ ลองมาทำความรู้จักกับใบสั่งบ้างดีมั้ยครับ
๑. ใบสั่งคืออะไร
ใบสั่งเป็นภาษาที่เราเรียกแบบชาวบ้านๆ แต่ภาษากฎหมายคือ "ใบรับแทนใบอนุญาตขับขี่" ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ มาตรา ๑๔๐ วรรคสาม ซึ่งเมื่อถูกจับกุมเจ้าหน้าที่ตำรวจจะเรียกเก็บใบอนุญาตขับขี่ไป แล้วให้ใบรับแทนใบอนุญาตขับขี่มาใช้แทนไปก่อน คำว่า "ใบสั่ง" จึงเป็นคำเรียกรวมๆ ครับ เนื่องจากใบสั่ง ๑ เล่ม จะมี ๒๕ ชุดใบสั่ง ซึ่งใน ๑ ชุดประกอบด้วย ๔ แผ่น ๔ สี คือ ใบรับแทนใบอนุญาตขับขี่(สีขาว) กับสำเนาอีก ๓ แผ่น (สีเหลือง สีชมพู สีฟ้า) เพราะฉะนั้นสิ่งที่ท่านได้รับมาคือใบรับแทนใบอนุญาตขับขี่ครับ ใบสั่งนั้นเป็นสิ่งคล้ายบันทึกจับกุมที่เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ทำการจับกุมผู้กระทำผิดในคดีอาญา จะต้องทำขึ้นหลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจจะนำตัวผู้ต้องหาพร้อมบันทึกจับกุมส่งให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดี แต่เนื่องจากคดีจราจรเป็นคดีที่มีโทษเพียงเล็กน้อยเป็นโทษปรับเสียส่วนใหญ่ ( ยกเว้นขับรถประมาท เมาสุรา ใช้สารเสพติด ชนแล้วหนี และขับรถแข่ง มีโทษจำคุก) กฎหมายจึงอนุญาตให้ตำรวจจราจรเรียกเก็บใบอนุญาตขับขี่เพื่อเป็นประกันว่าท่านจะไปที่โรงพัก แล้วออกใบรับแทนใบอนุญาตขับขี่มอบเป็นที่ระลึกแก่ท่านให้ท่านไปชำระค่าปรับทีหลังภายในเวลา ๗ วัน ไม่ต้องเอาตัวท่านไปโรงพักในทันทีเหมือนคดีอาญาอื่นๆ
ใบสั่งมี ๒ ชนิด คือ
ก. ใบสั่งกรณีพบตัวผู้ขับขี่ คือ กรณีทั่วไป
ข. ใบสั่งกรณีไม่พบตัวผู้ขับขี่ หรือเรียกภาษาชาวบ้านว่าใบสั่งแปะ ใบสั่งผูก เป็นกรณีที่ผู้ขับขี่ซึ่งเป็นผู้กระทำผิดไม่อยู่ที่รถ หรืออยู่บริเวณใกล้เคียงไม่ยอมปรากฎกายให้เห็น เจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรก็จะออกใบสั่งแปะหรือผูกไว้ที่หน้ากระจกรถให้เห็นชัดเจน โดยไม่ยึดใบอนุญาตขับขี่มา แต่จะกลับไปแจ้งพนักงานสอบสวนลงประจำวันไว้เป็นหลักฐาน แล้วรอให้ท่านมาชำระค่าปรับ ถ้าท่านไม่มาชำระค่าปรับภายใน ๗ วัน ถ้าทราบที่อยู่ก็จะออกหมายเรียกไปที่บ้านท่าน ถ้าไม่ทราบหรือเรียกแล้วท่านไม่มาก็จะแจ้งอายัดไปที่กรมการขนส่งทางบกหรือขนส่งจังหวัด รอเช็คบิลกันตอนชำระภาษีประจำปีครับ และใบสั่งทั้งสองชนิดใช้แบบฟอร์มเดียวกันครับ
๒. อำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรที่เกี่ยวกับใบสั่ง
เจ้าหน้าที่ตำรวจทุกคนมีอำนาจในการจับกุมผู้กระทำผิดกฎจราจรครับ แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรเท่านั้นที่จะออกใบสั่งแก่ท่านได้ ลำดับขั้นตอนในการใช้อำนาจในการจับกุมผู้ขับขี่รถยนต์ที่กระทำผิดก็มีดังต่อไปนี้
๑. ตรวจสอบว่ามีการกระทำผิดหรือไม่ จะโดยวิธีใดก็แล้วแต่ อาทิ การมองเห็นการกระทำผิดต่อหน้าเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร หรือใช้เครื่องมือต่างๆ ในการตรวจสอบความผิด เช่น ใช้เครื่องจับความเร็ว
๒. ถ้าท่านขับรถอยู่จะเรียกให้ท่านหยุดแล้วขอตรวจใบอนุญาตขับขี่ พร้อมกับแจ้งข้อกล่าวหาที่ท่านได้กระทำผิดให้ทราบ ในบางความผิดที่ยังไม่ชัดเจนอาจใช้วิธีเรียกให้ท่านหยุดรถก่อน แล้วตรวจสอบหาความผิดต่อไป เช่น ตรววจวัดควันดำ เสียงดัง ตรวจหาความมั่นคงแข็งแรงของอุปกรณ์ของรถ ฯลฯ
๓. เจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรสามารถใช้ดุลพินิจในขั้นตอนนี้พิจารณาด้วยตนเองว่า สมควรจะออกใบสั่งให้แก่ท่านหรือไม่ หากเห็นว่าท่านกระทำผิดเพียงเล็กน้อยไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย หรือความเดือนร้อน แก่ผู้อื่น ก็อาจใช้อำนาจว่ากล่าวตักเตือน แก่ท่านก็ได้ แต่ถ้าเห็นว่าเป็นความผิดที่ไม่อาจอภัยให้ได้ เช่น ขับรถเร็ว ฝ่าฝืนไฟแดง แซงทางโค้ง ฯลฯ ก็จะออกใบสั่งให้เลยและเรียกเก็บใบอนุญาตขับขี่จากท่าน อำนาจในการว่ากล่าวตักเตือนนี้ เป็นคนละขั้นตอนกับอำนาจของพนักงานสอบสวนครับ
๔. หลังจากที่เรียกเก็บใบอนุญาตขับขี่จากท่านแล้ว ก็จะต้องนำใบอนุญาตขับขี่และสำเนาใบสั่งไปส่งให้พนักงานสอบสวนภายใน ๘ ชั่วโมง นับจากเวลาที่ได้ออกใบสั่งให้แก่ท่าน