สโตอิด
เรื่องความมีเหตุผลความยุติธรรมตามธรรมชาติและความเท่าเทียมกันมาใช้ในกฎหมายโรมัน
กลุ่มนักปรัชญา คือกลุ่ม Scipionic cricle
ได้เสนอแนวคิดเรื่องความเท่าเทียมกันของมนุษย์ซึ่งทำให้เกิดความยุติธรรมในรัฐ และเสนอเรื่องความเป็นหนึ่งอันเดียวกันของเชื่อชาติ
นอกจากนี้ โพลีบิอุส เสนอแนวคิดว่า ระบบการปกครองแบบผสมเป็นระบบการปกครองที่ดีที่ป้องกันมิให้เสื่อมไปตามธรรมชาติ
โดยกล่าวว่าโลกที่โรมันปกครองเป็นรัฐโลก เพราะได้ปรับอำนาจของสถานบันปกครองให้มีความสมดุล โดยที่กงสุลมีลักษณะเป็นแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
สภาเซเนทมีลักษณะเป็นแบบอภิชนาธิปไตย สภาราษฎร์มีลักษณะเป็นแบบประชาธิปไตย ทั้ง 3 สถานบัน ต่างมีอำนาจตรวจสอบซึ่งกันและกัน อันเป็นการจัดสมดุลอำนาจทางการเมืองในระบบ Check and Balance
ซิเซโร เห็นด้วยกับความคิดว่าระบบการเมืองแบบผสมทำให้เกิด Check and Balance
ผลสำคัญของซิเซโรคือการเอาความคิดเรื่องกฎธรรมชาติมาผนวกกับลัทธิสโตอิด
โดยถือว่ากฎธรรมชาติ คือ
รัฐธรรมนูญของรัฐโลก
กฎนี้ไม่เปลี่ยนแปลงและใช้สำหรับทุกคน (ในแง่นี้ทุกคนจึงเท่าเทียมกัน) สิ่งใดที่ขัดกับกฎนี้จะถือเป็น กฎหมายมิได้
ซิเซโรมองว่าการมีคนมารวมกันเป็นประชาคมจะต้องการยอมรับกฎหมายสิทธิและประโยชน์ส่วนร่วม ซึ่งทำให้เกิด 3 ประการ คือ
1.รัฐและกฎหมายเป็นสมบัติของประชาชน เกิดจากการรวมกันแห่งอำนาจของประชาชน
2.อำนาจการเมืองที่ใช้อย่างถูกต้องจะสอดคล้องกับอำนาจของประชาชน
3.รัฐและความหมายของรัฐอยู่ใต้กฎของพระเจ้า ในลักษณะเช่นนี้เป็นการยอมรับว่าประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจ และการปกครองต้องได้รับความยินยอมจากประชาชน
เซเนกา ได้รับอิทธิพลจาก ลัทธิสโตอิก เช่นเดียวกับซิเซโร แต่ได้เน้นสังคมมากกว่ารัฐและมีความผูกพันกับศีลธรรมมากกว่ากฎหมายการเมือง นอกจากนี้ยังได้แยกประโยชน์ทางโลกออกจากประโยชน์ทางวิญญาณ ลักษณะความคิดของเซเนกาเป็นศาสนา 2 ประการ คือถือว่าบาปเป็นธรรมชาติของมนุษย์ และเน้นที่ความเข้าใจกันความสุภาพ คุณธรรม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น