โดยไอเอ็นเอ็นนิวส์
ศาลอาญา ธนบุรี ได้อ่านคำพิพากษาของศาลฎีกา ในคดีที่
นาย xxx ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะศาลฎีกา
เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง
นายสุกรี สุจิตตกุล รองอธิบดีอัยการฝ่ายคดีอาญาธนบุรี
ในความผิดต่อเจ้าพนักงานในการยุติธรรม กรณีจำเลยไม่สั่งฟ้อง
บ.สี่พระยาการพิมพ์ จำกัด และ
นายประชา เหตระกูล บก.นสพ.เดลินิวส์
ในข้อหาหมิ่นประมาทโจทก์ และไม่สั่งฟ้อง
นายบุญชัย สงวนความดี พ่อค้าผ้าตลาดพาหุรัด
คู่กรณีของโจทก์ ที่ขับรถชนท้ายรถโจทก์ในข้อหาแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน ซึ่งก่อนหน้านี้ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ พิพากษาจำคุกจำเลย 1 ปี และปรับ 2,000 บาท แต่จำเลยไม่เคยรับโทษจำคุกมาก่อน โทษจำคุกจึงให้รอลงอาญามีกำหนด 1 ปี
เนื่องจากศาลเห็นว่าจำเลยกระทำผิดตามมาตรา 157 จริง และจำเลยยื่นฎีกาสู้คดี โดยระบุว่า การวินิจฉัยสั่งไม่ฟ้อง บ.สี่พระยาการพิมพ์ นายประชา และนายบุญชัย เพราะพิจารณาถึงเจตนาแล้วพบว่า ไม่มีเจตนาหมิ่นประมาทโจทก์ อีกทั้งการใช้ดุลยพินิจก็เป็นไปโดยสุจริตใจ แต่ศาลฎีกาเห็นว่า จำเลยมิได้ใช้เกณฑ์วินิจฉัยมูลความผิดอย่างพนักงานอัยการพึงใช้ การใช้ดุลยพินิจจำเลยกรณีนี้ นับเป็นเรื่องผิดปกติวิสัยของพนักงานอัยการผู้สุจริตทั่วไป และก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ อีกทั้งไม่ได้อยู่บนรากฐานของความสมเหตุสมผล แต่เป็นการใช้ดุลยพินิจตามอำเภอใจ เกินล้ำออกนอกขอบเขตของความชอบด้วยกฎหมาย พิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ คือ จำคุก 1 ปี และปรับ 2,000 บาท โดยโทษจำคุกให้รอลงอาญา 1 ปี
นายสุกรี กล่าวยอมรับคำพิพากษาของศาลฎีกา แต่มั่นใจว่าได้ใช้ดุลยพินิจตามกรอบของกฎหมาย ต่อจากนี้ จะนำคำพิพากษาของศาลฎีกา เสนอให้นายพชร ยุติธรรมดำรง อัยการสูงสุด (อสส.) ทราบ เพื่อพิจารณาแนวทางการทำงานของอัยการทั่วประเทศในอนาคต
โดยยอมรับว่า คำพิพากษาวันนี้ (5 ก.ย.) กระทบต่อการทำหน้าที่ของอัยการ เพราะอัยการมีหน้าที่หลายอย่าง ทั้งเรื่องวินิจฉัยสั่งคดี และการดำเนินคดีอาญาเกี่ยวกับสำนวนการสอบสวนที่อยู่ในความรับผิดชอบ ซึ่งมีอำนาจวินิจฉัยโดยอิสระ ปัญหาที่เกิดขึ้นทำให้ต้องใช้ความระมัดระวังมากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันมีอัยการจำนวนไม่น้อยที่ตกเป็นผู้ต้องหา ทั้งนี้ อยากฝากถึงหน่วยงานต่าง ๆ ที่กำกับดูแลอัยการ ขอให้ลงมาช่วยเหลือการทำหน้าที่ของอัยการให้มากขึ้นด้วย
คดีนี้สืบเนื่องจากวันที่ 4 ก.ย.2540 โจทก์ได้ขับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไปส่งภรรยาและบุตร ที่ รร.สวนกุหลาบวิทยาลัย ระหว่างทางถูกรถของนายบุญชัย ชนท้าย โดยนายบุญชัย ได้ใช้กำลังทำร้ายร่างกายโจทก์ และทำผิดอาญาอีกหลายประการ ทั้งเรื่องการแจ้งความเท็จว่าโจทก์ทำร้ายนายบุญชัย และสร้างหลักฐานเท็จให้แพทย์ออกใบรับรองว่าโจทก์ทำร้ายนายบุญชัย โดยวันรุ่งขึ้น (5 ก.ย.) นสพ.เดลินิวส์ ได้พิมพ์ข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ ใจความว่า
เนื่องจากศาลเห็นว่าจำเลยกระทำผิดตามมาตรา 157 จริง และจำเลยยื่นฎีกาสู้คดี โดยระบุว่า การวินิจฉัยสั่งไม่ฟ้อง บ.สี่พระยาการพิมพ์ นายประชา และนายบุญชัย เพราะพิจารณาถึงเจตนาแล้วพบว่า ไม่มีเจตนาหมิ่นประมาทโจทก์ อีกทั้งการใช้ดุลยพินิจก็เป็นไปโดยสุจริตใจ แต่ศาลฎีกาเห็นว่า จำเลยมิได้ใช้เกณฑ์วินิจฉัยมูลความผิดอย่างพนักงานอัยการพึงใช้ การใช้ดุลยพินิจจำเลยกรณีนี้ นับเป็นเรื่องผิดปกติวิสัยของพนักงานอัยการผู้สุจริตทั่วไป และก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ อีกทั้งไม่ได้อยู่บนรากฐานของความสมเหตุสมผล แต่เป็นการใช้ดุลยพินิจตามอำเภอใจ เกินล้ำออกนอกขอบเขตของความชอบด้วยกฎหมาย พิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ คือ จำคุก 1 ปี และปรับ 2,000 บาท โดยโทษจำคุกให้รอลงอาญา 1 ปี
นายสุกรี กล่าวยอมรับคำพิพากษาของศาลฎีกา แต่มั่นใจว่าได้ใช้ดุลยพินิจตามกรอบของกฎหมาย ต่อจากนี้ จะนำคำพิพากษาของศาลฎีกา เสนอให้นายพชร ยุติธรรมดำรง อัยการสูงสุด (อสส.) ทราบ เพื่อพิจารณาแนวทางการทำงานของอัยการทั่วประเทศในอนาคต
โดยยอมรับว่า คำพิพากษาวันนี้ (5 ก.ย.) กระทบต่อการทำหน้าที่ของอัยการ เพราะอัยการมีหน้าที่หลายอย่าง ทั้งเรื่องวินิจฉัยสั่งคดี และการดำเนินคดีอาญาเกี่ยวกับสำนวนการสอบสวนที่อยู่ในความรับผิดชอบ ซึ่งมีอำนาจวินิจฉัยโดยอิสระ ปัญหาที่เกิดขึ้นทำให้ต้องใช้ความระมัดระวังมากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันมีอัยการจำนวนไม่น้อยที่ตกเป็นผู้ต้องหา ทั้งนี้ อยากฝากถึงหน่วยงานต่าง ๆ ที่กำกับดูแลอัยการ ขอให้ลงมาช่วยเหลือการทำหน้าที่ของอัยการให้มากขึ้นด้วย
คดีนี้สืบเนื่องจากวันที่ 4 ก.ย.2540 โจทก์ได้ขับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไปส่งภรรยาและบุตร ที่ รร.สวนกุหลาบวิทยาลัย ระหว่างทางถูกรถของนายบุญชัย ชนท้าย โดยนายบุญชัย ได้ใช้กำลังทำร้ายร่างกายโจทก์ และทำผิดอาญาอีกหลายประการ ทั้งเรื่องการแจ้งความเท็จว่าโจทก์ทำร้ายนายบุญชัย และสร้างหลักฐานเท็จให้แพทย์ออกใบรับรองว่าโจทก์ทำร้ายนายบุญชัย โดยวันรุ่งขึ้น (5 ก.ย.) นสพ.เดลินิวส์ ได้พิมพ์ข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ ใจความว่า
”เป็นผู้พิพากษามีเรื่องทะเลาะวิวาทกับพ่อค้าผ้า โดยใช้กำลังประทุษร้ายกัน โดยทั้งคู่ถูกแจ้งความดำเนินคดีเป็นผู้ต้องหา ซึ่งนายประทีป ได้ใช้ตำแหน่งหน้าที่ประกันตัวออกไป”
ข้อความที่พิมพ์ ถือว่าเป็นข้อความอันเป็นเท็จ เนื่องจากพนักงานสอบสวนยังไม่ได้แจ้งข้อหากับตน อีกทั้งตนและนายบุญชัย ก็ยังไม่ได้แจ้งความกล่าวหากัน ทำให้โจทก์ตัดสินใจแจ้งความดำเนินคดี กับ นสพ.ฉบับดังกล่าว ข้อหาหมิ่นประมาท และพนักงานอัยการมีความเห็นสั่งไม่ฟ้อง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น