ขั้นตอนการดำเนินคดีแพ่ง

10/5/52
ขั้นตอนการดำเนินคดีแพ่งการดำเนินคดีแพ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมีขั้นตอนกำหนดกฎเกณฑ์ ข้อยกเว้นระยะเวลาที่คู่ความจะต้องปฏิบัติค่อนข้างยุ่งยากซับซ้อนเป็น การยากพอสมควรในการทำความเข้าใจ

การปฏิบัติที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย นั้นอาจเกิดความเสียหายแก่คดีได้ ในที่นี้จึงจะขอกล่าวเฉพาะหลักเกณฑ์ทั่วไปที่ควรรู้เท่านั้น แต่หากจะดำเนินคดีแล้วควรที่จะปรึกษานักกฎหมายหรือทนายความผู้รู้เพื่อความถูกต้องต่อไป

การฟ้องคดีตามกฎหมายมี 2 กรณี (ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55) คือ

1. เมื่อมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลใดตามกฎหมายแพ่ง

2. บุคคลใดจะต้องใช้สิทธิทางศาล เช่น ร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก หรือร้องขอเลิกนิติบุคคล

ค่าธรรมเนียมศาล การดำเนินคดีแพ่งนั้นปกติคู่ความจะต้องเสียค่าธรรมเนียศาลเสมอ (เว้นแต่ศาลจะอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถา) ค่าธรรมเนียมศาลซึ่งคู่ความจะต้องเสีย เช่น ค่าขั้นศาล ค่าคำร้อง ค่าแต่งทนาย ค่าอ้างเอกสาร เป็นต้น

ค่าขึ้นศาล (เสียในเวลายื่นคำฟ้อง)

คดีมีทุนทรัพย์ หมายถึง คดีที่คำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์นั้น อาจคำนวนเป็นเงินได้ ได้แก่ คดีที่โจทก์เรียกร้องหรือขอเอาสิ่งใด ที่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ซึ่งยังมิได้เป็นของตนเอง จากผู้อื่น เช่น คดีกู้ยืม, เช็ค,, ซื้อขาย, ฯลฯ จะต้องเสียค่าขึ้นศาลตามอัตรา 2.50 บาท ทุกหนึ่งร้อยบาท แต่ไม่เกิน 200,000 บาท เศษของหนึ่งร้อยบาทถึงห้าสิบบาทให้นับ เป็นหนึ่งร้อยบาท ถ้าต่ำกว่าห้าสิบบางให้ปัดทิ้ง

คดีไม่มีทุนทรัพย์ หมายถึง คดีที่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยให้กระทำการหรือละเว้นกระทำกาอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อประโยชน์ของโจทก์โดย โจทก์ไม่ได้กล่าวอ้างหรือ เรียกร้องเป็นจำนวนเงินหรือทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่ง คดีที่มีคำขอให้ ปลดเปลื้องทุกข์ ์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาได้รวมทั้งคดีไม่มีข้อพิพาทต่าง ๆ เช่น

-คดีขอศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดก
-คดีฟ้องขอให้เลิก ห้างหุ้นส่วนจำกัดและชำระบัญชี
-คดีฟ้องขับไล่ (หากจำเลยยื่นคำให้การต่อสู้กรรมสิทธิ์ว่าเป็นของจำเลย จะกลาย เป็น คดีมีทุนทรัพย์โจทก์ตองเสียค่าขึ้นศาลตามตำนวนทุนทรัพย์พิพาท)
-สำหรับคดีไม่มีทุนทรัพย์นั้นเสียค่าขึ้นศาลเรื่องละ 200 บาท

การคืนค่าขึ้นศาล เมื่อมีการถอนฟ้อง หรือประนีประนอมยอมความ ศาลจะคืนค่าขึ้นศาลให้ตามระเบียบราชการฝ่ายตุลาการฉบับที่ 7 ลงวันที่ 30 สิงหาคม 2521 ดังนี้
1. ก่อนสืบพยาน ให้คืนค่าขึ้นศาลไม่เกิน 3 ใน 4แต่มิให้เหลือน้อยกว่า 200 บาท
2. เมื่อมีการสืบพยานไปบ้างแล้ว ศาลอาจคืนค่าขึ้นศาลให้เป็นกรณีพิเศษ เมื่อมีคำแถลงของคู่ความแสดงเหตุผลเป็นกรณี ๆ ไป

การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง

เมื่อโจทก์ได้มีการยื่นฟ้องแล้ว โจทก์ต้องส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลย ภูมิลำเนา หรือสำนักทำการงานของจำเลย เพื่อให้จำเลยให้การแก้คดี โดยโจทก์ต้องนำเจ้าพนักงานศาลไปส่งหมายเรียกแก่จำเลยภายใน 7 วัน นับแต่วันยื่นคำฟ้อง และโจทก์ต้องจ่ายค่าพาหนะและค่าป่วยการให้แก่เจ้าพนักงานศาล หากไม่สามารถส่งให ้ตัวจำเลยได้ ศาลอาจสั่งให้ (1) ปิดหมายเรียกไว้ในที่แลเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของจำเลยหรือ
(2) อาจลงโฆษณา โดย วิธีอื่นใดตามที่ศาลเห็นสมควร ซึ่งทางปฏิบัติศาลจะให้ส่งโดยประกาศหนังสือพิมพ์
กรณีข้อ (1), (2) นั้น กฎหมายให้มีผลใช้ได้เมื่อกำหนดระยะเวลา 15 วัน ได้ลงพ้นไปแล้วนับแต่วันปิดหมายหรือประกาศโฆษณา

การยื่นคำให้การ

เมื่อส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยแล้ว จำเลยต้องทำคำให้การเป็นหนังสือยื่นต่อศาลภายใน 15 วัน หรือในกรณีคดีไม่มีข้อยุ่งยาก จำเลยต้องทำคำให้การ เป็นหนังสือยื่นต่อศาลก่อนหรือในวันนัดพิจารณา

- กรณีปิดหมาย, ประกาศหนังสือพิมพ์ ให้มีผลเมื่อพ้น 15 วัน และจำเลยต้องยื่นคำให้การภายใน 15 วัน รวมเป็น 30 วัน

- หากจำเลยไม่ยื่นคำให้การภายในกำหนด ในคดีมโนสาเร่หรือคดีไม่มีข้อยุ่งยากศาลจะมีคำสั่งว่า "จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ" โดยโจทก์ไม่ต้องขอ ส่วนคดีแพ่งทั่วไป การขาดนัดยื่นคำให้การเป็นไปโดยผลของกฎหมาย โดยไม่จำเป็นต้องมีคำสั่งของศาลอีก

การชี้สองสถาน

ในคดีที่ไม่มีประเด็นข้อพิพาทยุ่งยาก ศาลจะทำการชี้สองสถานเพื่อกำหนดประเด็นข้อพิพาทที่จะวินิจฉัยกันต่อไป

การสืบพยาน

เมื่อโจทกได้ฟ้องและจำเลยได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีหรือกรณีที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การแล้ว ศาลจะนับสืบพยาน โจทก์หรือจำเลยแล้วแต่กรณี การสืบพยานนี้คู่ความ จะนำพยานบุคคลเข้าสาบานตัวและเบิกความต่อศาล และในระหว่างการสืบพยานคู่ความสามารถอ้างเอกสารประกอบการซักถามหรือถามค้านได้ เมื่อการสืบพยานของคู่ความทั้งสองฝ่ายเสร็จสิ้นแล้ว ศาลจะนัดฟังคำพิพากษาต่อไป

การบังคับคดี

คู่ความฝ่ายที่ชนะคดีตามคำพิพากษาสามารถดำเนินการบังคับคดีเพื่อให้มีการปฏิบัติไปตามคำพิพากษาได้ หากคู่ความฝ่ายที่แพ้คดีไม่ยอมปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ใน คำพิพากษา โดยอาจยึด อายัดทรัพย์ของลูกหนี้ของลูกหนี้ตามคำพิพากษามาขายทอดตลาดหรือจับกุม คุมขังลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ในกรณีไม่ยอมกระทำการตามที่กำหนดไว้ในคำพิพากษา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น