เหตุลดโทษในประมวลกฎหมายอาญา

16/8/53
โดยอาจารย์ ดร. มาตาลักษณ์ ออรุ่งโรจน์

เหตุลดโทษในประมวลกฎหมายอาญา

มี 3 กรณีดังนี้

1. บันดาลโทสะ (มาตรา 72) 2. ความไม่รู้กฎหมาย (มาตรา 64) 3. เหตุบรรเทาโทษอื่นๆ

1. บันดาลโทสะ (มาตรา 72) 

มีหลักเกณฑ์ที่สำคัญ 3 ประการ คือ

-ถูกข่มเหงอย่างร้ายแรง ด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม

-การที่ถูกข่มเหงนั้น เป็นเหตุให้ ผู้กระทำบันดาลโทสะ

-ผู้กระทำได้กระทำ ความผิด ต่อผู้ข่มเหง ในขณะบันดาลโทสะ

ผล : ศาล “จะ” ลงโทษผู้กระทำน้อยกว่าที่กม. กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้ คือ ศาลจะไม่ลงโทษเลยไม่ได้ แต่อาจไม่ลดโทษให้ได้

1. ถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม 

ความหมาย : 

“การข่มเหง” คือ การใช้วิธีรังแกหรือรบกวนให้ผู้อื่นเดือดร้อนโดยไม่มีเหตุอันสมควรที่จะกระทำเช่นนั้น

ข้อสังเกต : การข่มเหงต้องเกิดจากต้องเกิดจากการกระทำของบุคคลเท่านั้น หากสิ่งของ สัตว์หรือธรรมชาติเป็นเหตุให้เกิดโทสะ จะว่าถูกข่มเหงไม่ได้

“ร้ายแรง” : การพิจารณาว่าเป็นการข่มเหงในเรื่องที่ร้ายแรงหรือไม่ อาศัยการสมมติบุคคลขึ้นมาเปรียบเทียบ ให้อยู่ในฐานะและสภาพอย่างเดียวกับผู้กระทำผิด แต่ระดับความร้ายแรงให้ถือระดับ “วิญญูชน”

“ด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม” คือ กระทำโดยปราศจากเหตุผล

ข้อสังเกต : 

“ข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม” คือ ไม่มีเหตุสมควรที่จะทำเช่นนั้น (ไม่ว่าจะเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายหรือไม่ก็ตาม) ซึ่ง “วิญญูชน”โดยทั่วไปเห็นว่าเป็นสิ่งที่ไม่สมควรจะทำเช่นนั้น

“การข่มเหงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมนี้ อาจกระทำการ ข่มเหงต่อผู้กระทำความผิดเองหรือกระทำต่อผู้อื่นซึ่งเป็นผู้ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้กระทำความผิดก็ได้” 
ex พ่อตา – ลูกเขย , น้า – หลาน , พ่อ – ลูก , สามี – ภรรยา (แต่เพื่อนสนิทของสามีไม่ได้)

* การข่มเหงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม คือ กระทำโดยปราศจากเหตุผล แม้อาจไม่ถึงกับผิด กม.ก็ตาม

ข้อยกเว้น

- ถ้าผู้ที่บันดาลโทสะเป็นฝ่ายก่อเหตุขึ้นก่อน จะอ้างว่าถูกข่มเหงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมไม่ได้

- การวิวาทหรือสมัครใจเข้าต่อสู้ทำร้ายซึ่งกันและกัน จะยกข้อต่อสู้ว่าถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม ไม่ได้

- การกระทำความผิดโดยจำเป็นตาม ม. 69 เป็นการกระทำที่ผิดกม. เพียงแต่ ก.ม. ยกเว้นโทษ จึงอาจถือ ว่าเป็นการข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมได้

ex อ้นขู่ว่าจะยิงอ้วน หากจะไม่ใช้ไม้ตีหัวอุ้ย อ้วนทำตาม เพราะกลัวถูกยิง เมื่ออ้วนตีหัวอุ้ยแตกอ้วนจึงวิ่งหนี อุ้ยวิ่งไล่ตามใช้ปืนยิงอ้วน อ้นอ้างบันดาลโทสะได้
ข้อสังเกต : 

การพิจารณาว่าผู้กระทำบันดาลโทสะหรือไม่ ต้องพิจารณาจากจิตใจของผู้กระทำผิดนั้นเอง มิใช่เปรียบเทียบกับความรู้สึกของ “วิญญูชน”

การบันดาลโทสะ อาจเกิดขึ้นหลังจากการข่มเหง ได้ผ่านพ้นไปนานแล้วก็ได้

การบันดาลโทสะ อาจจะ เกิดจากคำบอกเล่าก็ได้ ไม่จำเป็นที่ผู้กระทำความผิดต้องประสบเหตุการข่มเหงด้วยตนเอง

เมื่อทราบเหตุข่มเหงแล้ว ต้องบันดาลโทสะทันที หากทราบเหตุแล้วยังไม่บันดาลโทสะ แต่ไปบันดาลโทสะในภายหลัง แม้จะกระทำความผิดในขณะที่ยังมีโทสะอยู่ ก็อ้างบันดาลโทสะไม่ได้

3. ผู้กระทำได้กระทำในขณะบันดาลโทสะ 

ข้อสังเกต :
หลักการวินิจฉัยเป็นการกระทำความผิด ในขณะบันดาลโทสะหรือไม่ ต้องเปรียบเทียบกับ “วิญญูชน” ที่อยู่ในฐานะอย่างเดียวกับตัวผู้กระทำว่าสามารถระงับโทสะได้หรือยัง หากวิญญูชนสามารถระงับโทสะได้แล้ว แต่จำเลยยังระงับโทสะไม่ได้ จะอ้างบันดาลโทสะไม่ได้

“ในขณะบันดาลโทสะ” หมายถึง กระทำในระยะเวลาต่อเนื่องกระชั้นชิด หรือในขณะที่ยังมีโทสะรุนแรงก่อนเวลาที่จะสงบอารมณ์ได้ หากขาดตอนไปไม่เป็นบันดาลโทสะ (ฎ. 272/2513)

ต้องเป็นการกระทำต่อผู้ข่มเหงเท่านั้น หากกระทำ ต่อผู้อื่นอ้างบันดาลโทสะไม่ได้ แต่หากเป็นเรื่องพลาดอ้างบันดาลโทสะโดยพลาดได้

ต้องเป็นการกระทำโดยมี “เจตนาธรรมดา” กล่าวคือ ประสงค์ต่อผล หรือเล็งเห็นผล หรือพลาด และมี “เจตนาพิเศษ” เพราะถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม

2. ความไม่รู้กฎหมาย (มาตรา 64) 

ความไม่รู้กฎหมาย (ม.64) : โดยปกติบุคคลจะอ้างว่า ไม่รู้กม.ไม่ได้ เว้นแต่ ความผิดที่ ก.ม.ห้าม (Mala prohibita) เพราะเป็น กม.ที่มีลักษณะพิเศษที่บทบัญญัติมีความแตกต่างกับศีลธรรม

ข้อสังเกต ทางทฤษฎีบอกว่าควรเป็นเหตุยกเว้นโทษ แต่ตาม ป.อ.ของไทยเป็นเพียงเหตุลดโทษซึ่งอยู่นอกโครงสร้างความรับผิดทางอาญา

3. เหตุบรรเทาโทษอื่นๆ 

ศาลพิจารณาโดยอาศัยข้อเท็จจริงประกอบการนำสืบของจำเลย

Ex : 

- ป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ

- กระทำด้วยความจำเป็น แต่เกินขอบเขต

- ไม่เคยกระทำความผิดมาก่อน

- เป็นบุคคลผู้บำเพ็ญประโยชน์แก่สังคม

- กระทำผิดด้วยความยากแค้นลำเค็ญ

- กระทำความผิดด้วยความมึนเมา (ที่ไม่เข้าข้อยกเว้นตาม ก.ม.)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น