ข้อมูลใหม่ "ที่ดินเขายายเที่ยง" คำถามที่ควรตอบให้ได้?

7/10/52

การครอบครองที่ดินเขายายเที่ยง ของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เป็นประเด็นที่ น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.)วิสามัญศึกษาและส่งเสริมการสร้าง คุณธรรม และจริยธรรมนักการเมือง

ข้าราชการ และประชาชน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)หยิบมาเป็นประเด็นอภิปรายนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 ตุลาคมที่ผ่านมา


"ประชาชาติธุรกิจ" สรุปข้อมูลของ น.ต.ประสงค์ ดังนี้


1. น.ต.ประสงค์อ้างว่าแผนที่รูปถ่ายจาก กรมแผนที่ทหารระบุว่าที่ดินแปลงดังกล่าว (จำนวน 20 ไร่) อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ตามพ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 ซึ่งปี 2508มีการออกฎกระทรวงเฉพาะบางพื้นที่ให้ชัดเจนขึ้น กำหนดให้ป่าเขาเตียนและป่าเขาเขื่อนลั่นในท้องที่ ต.จันทึก อ.ปากช่อง และ ต.ลาดบังขาว อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา และปี 2525 สมัยนายชวน หลีกภัย เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ออกกฎกระทรวงฉบับที่ 974 ปีประกาศให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นป่าสงวนแห่งชาติ


2. พื้นที่ดังกล่าวไม่สามารถบุกรุกได้ แม้จะ เสียภาษีบำรุงท้องที่ก็ตาม


3. ที่ดินแปลงนี้นายเบ้าขายให้แก่นายนพดล พิทักษ์วานิช ในราคา 7 แสนบาท เมื่อวันที่ 4 ส.ค.2538 แต่เป็นเอกสารภาษีบำรุงท้องที่ ขณะนั้นนายกฯเป็นแม่ทัพภาคที่ 2  และในวันที่ 31 มี.ค.2540 นายนพดลทำเป็นสัญญาซื้อขายให้ พ.อ.สุรฤทธิ์ จันทราทิพย์ ในราคาเพียง 5 หมื่นบาท และในวันที่ 12 พ.ย.2545 พ.อ.สุรฤทธิ์ ขายให้กับ พ.อ.หญิงคุณหญิงจิตรวดี จุลานนท์ ภริยานายกรัฐมนตรี  โดยไม่ระบุราคาซื้อขาย


คำชี้แจงของนายธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ผู้ได้รับ มอบหมายให้ชี้แจงแทนนายกรัฐมนตรีสรุปสาระ ดังนี้


1.นายกฯไม่มีเจตนาบุกรุกที่ดินป่าสงวน แห่งชาติ และไม่ทราบว่าที่ดินผืนดังกล่าวมีปัญหาคาบเกี่ยว เพราะที่ดินมีลักษณะเป็นชุมชน มีวัด และมีมัสยิด รวมทั้งไม่มีป้ายหรือมีเครื่องหมายใดๆ ระบุว่าเป็นเขตพื้นที่ป่าสงวนฯ โดยที่ดินแปลงดังกล่าวชาวบ้านเข้ามาทำกินก่อนวันที่ 30 มิ.ย.2541ก่อนที่ทางการจะประกาศเป็นเขตป่าสงวนฯ



2.การครอบครองที่ดินแปลงดังกล่าวได้มา เป็นทอดๆโดยชาวบ้านเข้ามาทำกินก่อนที่ทางการจะประกาศเป็นเขตป่าสงวนฯภริยาของนายกฯได้มาจาก พ.อ.สุรฤทธิ์ (ยศขณะนั้น) ซึ่งซื้อต่อมาจากนายนพดลและนายนพดลซื้อต่อมาจากนายเบ้าอีกทอดหนึ่งดังนั้นหากพิสูจน์แล้วว่าอยู่ในป่าสงวนฯจริงก็พร้อมคืนให้ทางการ


3.นายกฯไม่มีเจตนาปกปิดเพราะได้แจ้ง ป.ป.ช.และพาคณะสื่อมวลชนไปดูพื้นที่มาก่อนหน้านี้


คำอภิปรายของ พล.อ.สุรินทร์ พิกุลทอง สนช.สายทหาร (เพื่อนร่วมรุ่น พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน)


1.กรมป่าไม้ประกาศเป็นเขตป่าสงวนฯ เมื่อปี 2508 และปี 2520กรมป่าไม้ประกาศให้ประชาชนเข้าไปอยู่อาศัยและทำกิน เสียภาษี บำรุงท้องที่


2.แม้ประกาศเป็นเขตปฏิรูป คนก็เข้าไปอยู่อาศัยได้โดยจ่ายค่าธรรมเนียมตามปกติเมื่อประมวลข้อมูลตามเอกสารที่ พล.อ.สุรยุทธ์แจ้งบัญชีแสดงรายการทรัพย์สิน ต่อป.ป.ช.ตอนเข้ารับตำแหน่งนายกฯ ที่ดิน มีความเป็นมา ดังนี้


ที่ดินแปลงนี้เอกสารใบเสียภาษีบำรุงท้องที่ (ภ.บ.ท.5) เดิมเป็นของนายเบ้า สินนอกมีการเสียภาษีบำรุงท้องที่ตั้งแต่ปี 2533-2538 วันที่ 4 สิงหาคม 2538 นายเบ้าได้ขายให้ นายนพดล พิทักษ์วานิชย์ ในราคา 700,000 บาท (โดยแนบใบเสร็จรับเงินการเสียภาษีบำรุงท้องที่ตั้งแต่ปี 2533-2538เป็นหลักฐาน)


วันที่ 31 มีนาคม 2540 นายนภดลทำสัญญาขายให้

พ.อ.สุรฤทธิ์ จันทราทิพย์ ในราคา 50,000 บาท มาตกถึงมือ
พ.อ.คุณหญิงจิตรวดี เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2545
(พ.อ.สุรฤทธิ์อ้างว่าได้ขายให้ พ.อ.คุณหญิงจิตรวดี แต่ในเอกสารบันทึกของนายอุทัยสังข์จันทึก ผู้ใหญ่บ้านเขายายเที่ยงระบุว่า ยกให้)


จากข้อมูลข้างต้นแสดงให้เห็นว่า


ประการแรก ที่ดินแปลงดังกล่าวมีการเข้าไปทำประโยชน์มาตั้งแต่ปี 2533 (นามหลักฐาน ใบเสร็จรับเงินของนายเบ้า) ในขณะที่มีการประกาศเป็นเขตป่าสงวน แห่งชาติมาตั้งแต่ ปี 2507 โดยมีการออกกฎกระทรวงในปี 2525

เท่ากับนายเบ้าได้เข้าทำประโยชน์หลังทางการประกาศเป็นเขตป่าสงวนฯ


ประการที่ 2 กรณีความสัมพันธ์ระหว่าง พ.อ.สุรฤทธิ์กับ พล.อ.สุรยุทธ์ และภริยา ที่ดินแปลงนี้ตกถึงมือ พ.อ.คุณหญิงจิตรวดี เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2545


จากการตรวจสอบพบว่ามีการขอ "เลขที่บ้าน" (เลขที่ 10 หมู่ 6) เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2543 โดย พ.อ.สุรฤทธิ์ จันทราทิพย์ (ขณะยศ พล.ต.) เป็นผู้ขอเลขที่บ้านและมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ก่อนที่ พ.อ.สุรฤทธิ์จะโอนย้ายออกไปอยู่บ้าน เลขที่ 50/1 ซอยศุลกากร 1 ถ.พหลโยธิน แขวงสามเสน เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2549 โดยนายจุล จุลานนท์ บุตรชาย พล.อ.สุรยุทธ์ ย้ายชื่อเข้าไปอยู่แทนเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2549


พ.อ.สุรฤทธิ์ขายที่ดินให้ พ.อ.คุณหญิงจิตรวดี โดยไม่ได้ระบุราคา แต่ในเอกสารบันทึกของนายอุทัย สังข์จันทึก ผู้ใหญ่บ้านเขายายเที่ยงระบุว่า "ยกให้" แสดงให้เห็นว่า พ.อ.สุรฤทธิ์ มีความใกล้ชิด กับพล.อ.สุรยุทธ์ และภริยามา โดยตลอดใช่ หรือไม่ ?


อีกทั้งที่ดินแปลงนี้นายนพดลซื้อมาในราคา 700,000 บาท  แต่กลับขายให้ พ.อ.สุรฤทธิ์ในราคาเพียง 50,000 บาท ทั้งๆ ที่ พ.อ.สุรฤทธิ์ มิได้เป็นแม่ทัพภาคที่ 2


ขณะที่ในการแถลงข่าวครั้งแรกวันที่ 25 ธันวาคม 2549 พล.อ.สุรยุทธ์บอกว่า ที่ดินดังกล่าวมีการ เสียภาษีบำรุงท้องที่ (ภ.บ.ท.5) ติดต่อกันมา ตั้งแต่ตนเป็นแม่ทัพภาคที่ 2 โดยให้ค่าที่ดินแก่ ผู้ที่ถือว่าเป็นผู้มีสิทธิซึ่งปัจจุบันบวช เป็นพระชื่อ "เบ้า"



น่าสังเกตว่า การเข้าไปครอบครองที่ดิน ของ พ.อ.สุรฤทธิ์กระทำแทนใครหรือไม่ ?


หากครอบครองแทน พล.อ.สุรยุทธ์ หรือภริยา ในช่วงที่ พล.อ.สุรยุทธ์เป็น ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) และผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ผบ.ส.ส.) โดยเกษียณอายุราชการวันที่ 1 ต.ค.2546 มีการแจ้งบัญชีแสดง รายการทรัพย์สินและหนี้ต่อ ป.ป.ช.ครบถ้วน หรือไม่ ?


ประเด็นนี้ต่างหากที่ไม่มีใครถามนายกฯว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร ?

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น