บทความเรื่องยุบพรรค โดย คณบดี คณะนิติศาสตร์ จุฬา

19/10/52






บทความเรื่องยุบพรรค ของ ศจ.นันทวัฒน์ บรมานันท์ คณบดีนิติศาสตร์ จุฬาฯ
ยุบพรรคไทยรักไทย

ช่วงเวลา 2-3 เดือนที่ผ่านมา ผมมีเรื่องให้ต้องเดินทางไปต่างประเทศหลายครั้ง ขณะที่เขียนบทบรรณาธิการนี้ ผมกลับมาอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศสอีกครั้งหนึ่งหลังจากเดินทางกลับจากประเทศ โปรตุเกสไปอยู่ที่ประเทศไทยได้เพียง 3 วันเท่านั้นเองครับ ในครั้งนี้ผมร่วมเดินทางมาฝรั่งเศสกับคณะของรองนายกรัฐมนตรีโฆษิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ครับ

อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วในบทบรรณาธิการครั้งก่อนหน้านี้ว่า ขณะที่คณะตุลาการรัฐธรรมนูญอ่านคำวินิจฉัยให้ยุบพรรคไทยรักไทยนั้น ผมอยู่ต่างประเทศ กลับมาอยู่เมืองไทยได้ 3 วันก็กลับมาต่างประเทศอีก จนถึงวันนี้ก็เลยทำให้ผมยังไม่ได้อ่านคำวินิจฉัยกลางของคณะตุลาการ รัฐธรรมนูญในคดีดังกล่าวอย่างละเอียด แต่อย่างไรก็ตาม 3 วันในประเทศไทยก็มีคนมาสัมภาษณ์ผมหลายคนเกี่ยวกับเรื่องการยุบพรรคไทยรักไทย ในบทบรรณาธิการครั้งนี้ ผมจึงขอแสดงความเห็นของผมเกี่ยวกับการยุบพรรคไทยรักไทย โดยผมจะพูดเรื่องใหญ่ๆ 2 เรื่องคือ เรื่องการยุบพรรคการเมืองกับการมีผลย้อนหลังของกฎหมายครับ
ก่อนที่จะเข้าสู่สาระสำคัญของทั้งสองเรื่อง ผมมีข้อสังเกต

สองประการที่เชื่อมโยงไปถึงความเห็นของผมในเรื่องการยุบพรรค การเมืองด้วยครับ ข้อสังเกตสองประการของผมนั้นเกี่ยวข้องกับเจตนารมณ์ที่แท้จริงของ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2549 ที่ผมมองว่าเป็นเรื่อง แปลกมากๆที่ทำไมถึงได้มีการตั้งคณะตุลาการรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นองค์กรประเภทตรวจ สอบความชอบด้วยรัฐธรรนูญของกฎหมายเอาไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวที่มีขึ้น มาหลังรัฐประหารเพื่อปกครองประเทศในระยะเวลาสั้นๆ

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ในบรรดาประเทศต่างๆ ที่มีองค์กรประเภทศาลรัฐธรรมนูญนั้น ศาลรัฐธรรมนูญมีหน้าที่หลัก คือ เป็นองค์กรในการ ค้ำประกันความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ แต่รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2540 ก็ได้ เพิ่มอำนาจในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐและอำนาจอื่นๆให้กับศาลรัฐธรรมนูญเข้าไปอีก เมื่อเกิดการรัฐประหารขึ้นและมีการเลิกใช้รัฐธรรนูญฉบับปี พ.ศ. 2540 รวมไปถึงการออกประกาศ คปค. ฉบับที่ 3 ให้ยุบศาลรัฐธรรมนูญ บทบาทและอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2540

จึงควรต้องจบสิ้นลงไป ณ ช่วงเวลานั้น
แต่เมื่อมีการประกาศใช้บังคับรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2549 มาตรา 35 ของ

รัฐธรรมนูญดังกล่าวก็ตั้งคณะตุลาการรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่และให้มีอำนาจ หน้าที่อื่นซึ่งก็รวมไปถึงอำนาจในการยุบพรรคการเมืองด้วย จึงเป็นข้อน่าสังเกตที่สำคัญว่าเจตนารมณ์ที่แท้จริงของการตั้งคณะตุลาการ รัฐธรรมนูญขึ้นมาคืออะไร เพื่อควบคุมความชอบด้วยกฎหมายของรัฐธรรมนูญหรือเพื่อทำหน้าที่อื่นที่ สำคัญกันแน่ครับ

ส่วนข้อสังเกตประการที่สองก็คือ เจตนารมณ์ที่แท้จริงของการออกประกาศ คปค.ฉบับที่ 27 โดยเฉพาะที่กำหนดไว้ในข้อ 3 ว่าในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญหรือองค์กรอื่นที่ทำหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำ สั่งให้ยุบพรรคการเมืองใดเพราะเหตุกระทำการต้องห้ามตามกฎหมายประกอบ รัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคการเมืองนั้นมีกำหนด 5 ปีนับแต่วันที่มีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมือง ผลของประกาศ คปค.ดังกล่าวทำให้ โทษที่เกิดจากการมีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมืองเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม

ในส่วนตัวผมแล้ว ผมมองว่าการตั้งคณะตุลาการรัฐธรรมนูญไว้ในรัฐธรรมนูญชั่วคราว พ.ศ. 2549 กับการเพิ่มโทษกรณียุบพรรคการเมืองเป็น เรื่องเดียวกันและเป็นกรณีที่ต้องมีการ คาดการณ์เอาไว้แล้วล่วงหน้า เพราะหากจะว่าไปแล้ว ความจำเป็นในการตั้งคณะตุลาการรัฐธรรมนูญขึ้นมาในช่วงที่มีการบังคับใช้ รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวมีน้อยมาก

และที่ผ่านมาจากการรัฐประหารหลายๆครั้ง เราก็ไม่เคยมีการตั้งองค์กรประเภทดังกล่าวขึ้นมาสักครั้งในช่วงรัฐประหาร ดังนั้น จึงน่าจะมีความเป็นไปได้สูงมากที่คณะรัฐประหาร ต้องการหรือ ตั้งเป้าเอาไว้ตั้งแต่ต้นแล้วว่าจะ จัดการกับพรรคการเมืองบางพรรคการเมือง ให้สิ้นซากด้วยการยุบพรรคการเมืองนั้นและ กันนักการเมืองของพรรคการเมืองนั้นออกไปนอกวงการเมือง

ด้วยเหตุนี้เอง จึงมีการออกประกาศ คปค. ฉบับที่ 27 ในวันที่ 30 กันยายน 2549 และเพียง 1 วันหลังจากนั้น รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวที่ตั้งคณะตุลาการรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่ก็มีผลใช้ บังคับ ผมจึงค่อนข้าง แน่ใจว่าการยุบพรรคไทยรักไทยนั้นเป็นความประสงค์ดั้งเดิมของคณะรัฐประหารครับ ! จึงไม่ควรที่จะแปลกใจหรือสงสัยอะไรทั้งนั้นกับสิ่งที่เกิดขึ้นในเวลานี้ครับ
เข้ามาสู่เรื่องแรกที่ตั้งใจเอาไว้ว่าจะกล่าวถึงในบทบรรณาธิการครั้งนี้ก็ คือเรื่อง การยุบพรรคไทยรักไทย จากที่ผมได้อ่านดูอย่างคร่าวๆในเหตุผลที่ปรากฏในคำวินิจฉัยให้ยุบพรรค ไทยรักไทยนั้น ผมไม่มีความสงสัยในเหตุผลดังกล่าว

เพราะไม่ว่าจะเป็นข้อกล่าวหาว่ามีการยุบสภาเพื่อแก้ปัญหาส่วนตัว มีการผูกขาดทางการเมือง หรือมีการโกงการเลือกตั้ง การกระทำเหล่านั้นเป็นสิ่งที่ผิดอยู่แล้วและเป็นความ ชอบธรรมที่จะลงโทษพรรคการเมืองที่กระทำการดังกล่าวอยู่แล้ว แต่สิ่งหนึ่งที่เราต้องคำนึงถึงก็คือ ในบรรดาการกระทำทั้งหลายที่ปรากฎอยู่ในข้อกล่าวหานั้น ไม่ว่าพรรคการเมืองพรรคไหนขึ้นมาเป็นรัฐบาลก็ทำเช่นนั้นทั้งนั้น

ถ้าเราไปค้นข้อมูลเก่าๆจากหนังสือพิมพ์ก็จะพบว่า แทบจะเรียกได้ว่านับแต่มีการเลือกตั้งเกิดขึ้นในประเทศไทย ไม่เคยมีการเลือกตั้งครั้งใดเลยที่ไม่มีการดำเนินการที่ผิดกฎหมาย จะว่าไปแล้ว การซื้อเสียงหรือการโกงการเลือกตั้งเพื่อให้พรรคของตนได้ชัยชนะเป็นสิ่งที่ เกิดขึ้น ตามปกติในระบบการเลือกตั้งของเราครับ

และเมื่อพรรคการเมืองไหนเข้ามาบริหารประเทศก็จะทำการ ผูกขาดทางการเมืองกันเป็นปกติอยู่แล้ว (คงไม่ต้องไปนับรวมถึงการรัฐประหารที่ภายหลังการรัฐประหารก็เกิดการ ผูกขาดทางการเมืองขึ้นเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการตั้ง ครม. สนช. สสร. หรือแม้กระทั่งกรรมการรัฐวิสาหกิจต่างๆ !!! )

ด้วยเหตุนี้เองที่ผมยังไม่ค่อยสนิทใจเท่าไหร่นักกับ ผลของคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญที่ ลงโทษสถานหนักพรรคไทยรักไทยด้วยการยุบพรรคการเมืองดังกล่าวครับ ผมคงพูดมากไปกว่านี้ไม่ได้แล้วในประเด็นนี้เพราะอาจเกิด ปัญหาตามมาได้ครับ

เรื่องต่อมาเป็นเรื่องที่เข้าใจว่าวันข้างหน้าคงสร้างความขัดแย้งและความ สับสนในทางวิชาการให้กับนักกฎหมายและประชาชนทั่วไปเป็นอย่างมาก นั่นคือเรื่อง การมีผลย้อนหลังของกฎหมาย เราถูกสอนกันมานานว่ากฎหมายไม่สามารถมีผลลงโทษย้อนหลังได้ หรือกฎหมายไม่สามารถมีผลย้อนหลังในทางที่เป็นโทษได้ หรือการลงโทษต้องใช้กฎหมายที่มีอยู่ในขณะกระทำความผิด สิ่งต่างๆเหล่านี้จะว่าไปแล้วก็ถือเป็น หัวใจของระบบนิติรัฐที่เราไม่อาจปฏิเสธได้

ในประเทศฝรั่งเศส 10 กว่าปีที่ผ่านมา มีการแก้รัฐธรรมนูญเพื่อตั้งศาลขึ้นมาใหม่สำหรับใช้ในการพิจารณาความผิดต่อ ตำแหน่งหน้าที่ของรัฐมนตรีซึ่งรัฐธรรมนูญก็ได้กำหนดเอาไว้ว่าสามารถนำไปใช้ กับการกระทำความผิดที่เกิดขึ้นก่อนการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นได้ เหตุสำคัญที่ฝ่ายรัฐสภาใช้ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้มีผลย้อนหลังในทางที่ เป็นโทษกับรัฐมนตรีก็คือเพื่อคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ (public interest) ครับ ดังนั้น การแก้ไขรัฐธรรมนูญในครั้งนั้นซึ่งผ่านการพิจารณาจากตัวแทนของประชาชน คือรัฐสภา และถ้าผมจำไม่ผิด ผ่านการออกเสียงประชามติโดยประชาชนด้วย จึงมีบทบัญญัติที่มีโทษย้อนหลังได้ครับ

กลับมาสู่กรณีของประเทศไทย หากเรามาลองไล่เรียงเหตุการณ์ดูก็จะพบว่า มีการยุบสภาเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 และในวันที่ 2 เมษายน 2549 ก็มีการเลือกตั้ง ดังนั้น การกระทำความผิดที่เกิดขึ้นอันเป็นเหตุนำไปสู่การยุบพรรคการเมืองและการตัด สิทธิทางการเมืองกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยทั้ง 111 คน จึงเกิดขึ้นในระหว่างช่วงเวลาดังกล่าว ซึ่งกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่มีการกระทำความผิดได้กำหนดโทษร้ายแรง ที่สุดไว้เพียงห้ามกรรมการบริหารพรรคการเมืองที่ถูกยุบไปตั้งพรรคการเมือง ใหม่หรือเป็นกรรมการบริหารพรรคการเมือง

ต่อมาเมื่อมีการรัฐประหารในวันที่ 19 กันยายน 2549 และตามด้วยการยกเลิกรัฐธรรมนูญ การยุบศาลรัฐธรรมนูญ รวมไปถึงการออกประกาศ คปค.ฉบับที่ 27 เพิ่มโทษให้กับกรรมการบริหารพรรคการเมืองที่ถูกยุบ จนกระทั่งนำไปสู่การยุบพรรคไทยรักไทยในวันที่ 30 พฤษภาคม 2550 ซึ่งก็ส่งผลให้มีการนำประกาศ คปค.ฉบับที่ 27 มาใช้ตัดสิทธิทางการเมืองของนักการเมือง 111 คน จึงเป็นปัญหาที่ต้องพิจารณากันว่า ประกาศ คปค.ฉบับที่ 27 ในส่วนที่มีการกำหนดโทษย้อนหลังนั้นมีผลใช้บังคับอย่างแท้จริงหรือไม่ ซึ่งในประเด็นนี้เองก็มีผู้ออกมาให้ความเห็นกันมากมาย ฝ่ายที่เห็นด้วยก็บอกว่า การตัดสิทธิทางการเมืองไม่ใช่โทษทางอาญา จึงสามารถดำเนินการย้อนหลังได้ ในขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งซึ่งรวมทั้งผมด้วยก็ไม่เห็นด้วยกับกรณีดังกล่าว โดยมีเหตุผลที่สำคัญคือ การตัดสิทธิทางการเมืองแม้จะไม่ใช่โทษทางอาญา แต่ก็เป็นสิ่งที่มีสภาพเป็น โทษแล้วก็เป็นโทษที่มีความรุนแรงมากเพราะกระทบต่อสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน

ในวันข้างหน้า หากเรานำเหตุผลที่ได้จากคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญที่ว่า การออกกฎหมายให้มีโทษย้อนหลังสามารถทำได้หากไม่ใช่โทษทางอาญา มาใช้กับการบริหารราชการแผ่นดิน ก็เกรงว่าน่าจะก่อให้เกิดปัญหาและความวุ่นวายตามมาไม่จบสิ้น ฝ่ายปกครองคงออกระเบียบต่างๆที่เป็นโทษอื่นๆที่ไม่ใช่โทษทางอาญา เช่น

โทษปรับทางปกครอง

ตัดเงินเดือน ฯลฯ

ได้อย่างง่ายดาย โดยอ้างคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญดังกล่าวเป็นบรรทัดฐานครับ
เพราะฉะนั้น ก็คงต้องฝากเรื่องนี้ไว้กับบรรดานักกฎหมายทั้งหลายที่จะต้องช่วยกันศึกษา วิเคราะห์คำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญอย่างละเอียดต่อไปเพื่อหา ข้อยุติที่เป็นธรรมที่สุดสำหรับประเทศไทยของเราครับ
จริงๆแล้วในคำวินิจฉัยดังกล่าวยังมีประเด็นให้ต้องขบคิดอีกมาก ไม่ว่าจะเป็น

การเกิดขึ้นของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ
การ

เข้ามารับช่วงวินิจฉัยคดีที่ตนเองไม่ได้ทำตั้งแต่ต้น
การตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรคทั้งหมดทั้งๆที่รู้อย่างชัดแจ้งว่ามีเพียงไม่ กี่คนที่เป็นผู้กระทำผิด
ประเด็นต่างๆเหล่านี้ในวันข้างหน้าคงมีคนหยิบยกมาพูดกันบ้างครับ

ก่อนจะจบบทบรรณาธิการครั้งนี้ คงต้องเล่าให้ฟังว่าในต่างประเทศนั้น การยุบพรรคการเมืองไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นบ่อย หรือเกิดขึ้นง่ายๆ เพื่อนชาวฝรั่งเศสหลายๆคนถามผมว่า การยุบพรรคไทยรักไทยซึ่งเป็นพรรคการเมืองอันดับ 1 ของประเทศ มีสมาชิกอยู่ประมาณ 14 ล้านคน และสามารถชนะการเลือกตั้งจนจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้เป็นครั้งแรกใน ประวัติศาสตร์การเมืองของเรา จะส่งผลกระทบต่อระบบการเมืองและระบบประชาธิปไตยของไทยต่อไปอย่างไร
ซึ่งผมก็ตอบไม่ได้ เพราะทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นในบ้านเราในช่วงเวลา 1 ปีที่ผ่านมาเป็นสิ่งที่อยู่ นอกกรอบและ นอกเกณฑ์

ที่ควรจะเป็นทั้งสิ้น ในขณะที่การรัฐประหารเพื่อ

ล้มล้างระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย

ล้มเลิกรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน และ

ดำเนินการต่างๆอีกหลายสิ่งหลายอย่างที่ตรงข้ามกับระบอบประชาธิปไตยเป็น

สิ่งที่ถูกต้องและชอบธรรม นักการเมืองและ
พรรคการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งด้วยการโกง กลับกลายเป็นผู้ ทำลายประชาธิปไตยก็ไม่แน่ใจว่าในชีวิตนี้จะได้ยินอะไรแบบนี้ในโลกนี้ได้อีกครับ !!!

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น