1.3 พัฒนาการของกฎหมายปกครอง (4)

11/11/52
1.3 พัฒนาการของกฎหมายปกครอง (4)

       
1.3.1 กำเนิดแนวความคิดกฎหมายปกครองในประเทศภาคพื้นยุโรป
       




ในยุกกรีกโบราณ นักปราชญ์ที่มีชื่อเสียงที่สุดในยุคนั้นสองคน ได้แก่ เปลโต (plato) และอริสโตเติ้ล (Aristotle) เปลโต (427-347 ก่อน ค.ศ.) เป็นนักปราชญ์ที่สำคัญคนหนึ่ง ท่านได้ก่อตั้งสำนักอคาเดมี (Academy) ขึ้นที่กรุงเอเธนส์และชาวเมืองอื่นๆ ที่เข้ามาเรียน เปลโตได้เขียนผลงานสำคัญๆ ไว้หลายเล่ม หนังสือที่มีชื่อเสียงเล่มหนึ่ง คือ Republic (รัฐ) โดยเปลโตได้เขียนถึง รัฐในอุดมคติเอาไว้ว่า 


ประเทศชาติจะมีความผาสุก หากจัดระบอบการปกครองแบบราชาธิปไตย (Monarchy) 


โดยมีกษัตริย์ผู้เปี่ยมด้วยสติปัญญาและทรงวิทยาคุณในทางปรัชญาเป็นประมุข 


ดังที่เรียกว่า ราชานักปราชญ์ (Philosopher King) 



เปลโตเห็นว่าการมีการมีกฎหมายเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นและอาจมีผลร้ายมากกว่าผลดี เพราะเป็นการจำกัดอำนาจและดุลพินิจของราชานักปราชญ์ แต่ต่อมาเปลโตได้แต่งวรรณกรรมเกี่ยวกับ ในอุดมคติอีกเรื่องหนึ่ง คือ Statesman ซึ่งเปลโตก็ได้ยอมรับว่ารัฐในอุดมคติตามที่เคยเสนอไว้ใน Republic นั้น น่าจะเป็นสิ่งที่ เป็นไปได้ยาก จึงควรผ่อนคลายเงื่อนไขบางอย่างลงบ้าง เช่น 


หากไม่อาจหาราชานักปราชญ์มาจัดการปกครองแบบราชาธิปไตยได้ 
ก็อาจจัดระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยได้เช่นกัน 


และในวรรณกรรมเรื่องสุดท้าย “Laws” เปลโตก็ได้เสนอแนวความคิดใหม่ว่า


อาจมีสังคมแบบใหม่ ซึ่งมีนักกฎหมายเป็นสิ่งสำคัญแทนที่ราชานักปราชญ์ 


เพราะ ราชานักปราชญ์เป็นสิ่งหาได้ยาก
       
ส่วนอริสโตเติล (384-322 ก่อน ค.ศ.) นั้น ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งรัฐศาสตร์และมีอิทธิพลต่อการพัฒนากฎหมายมหาชนมาก เพราะท่านได้แสดงทรรศนะเกี่ยวกับความหมายของ 
รัฐ 
กำเนิดของรัฐ 
รูปของรัฐ และ
ความสิ้นสุดของรัฐไว้อย่างละเอียด 


อริสโตเติลเป็นลูกศิษย์ที่ได้รับการยกย่องและนับถือมากที่สุดจาก สำนักอคาเดมีของเปลโต 


อริสโตเติลศึกษาอยู่ในสำนักอคาเดมีเป็นเวลา 20 ปีเศษ จนมีความชำนาญและ เจนจัดในทางวิชา ต่อมาเมื่อเปลโตถึงแก่กรรม 


อริสโตเติลจึงได้เปิดสำนักศึกษาชื่อ ไลเซียม (Lyceum) จากการศึกษางานของอริสโตเติล พบว่า ทฤษฎีของอริสโตเติลนั้นมีส่วนที่สามารถนำมาปฏิบัติได้และเห็นจริงเห็นจังได้ชัดกว่าทฤษฎีของเปลโต วรรณกรรมที่สำคัญของอริสโตเติล คือ


Politics และ Ethics 


ซึ่งอริสโตเติลได้กล่าวถึงรูปแบบการปกครองรัฐเอาไว้ว่ามี 3 ประเภท ด้วยกัน คือ
       
ก. บุคคลคนเดียว เท่านั้นที่เป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ ซึ่งอริสโตเติลเห็นว่า


หากคนคนนั้นใช้อำนาจในทางเด็ดขาดที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม ก็ต้องเรียกว่าเป็นการปกครองใน ระบอบทรราชาธิปไตย (Tyranny) 


แต่หากคนคนนั้นใช้อำนาจในทางเด็ดขาดเพื่อประโยชน์ส่วนรวมก็ต้องเรียกว่าเป็นการปกครองใน 
ระบอบกษัตริย์ (Monarchy)
       
ข. บุคคลกลุ่มเล็กๆ เป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ ซึ่งอริสโตเติลเห็นว่าหากกลุ่มบุคคลนั้นใช้อำนาจในทางเด็ดขาดเพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มของตนก็ต้องเรียกว่าเป็นการปกครอง 


ในระบอบคณาธิปไตย (Oligarchy) 


แต่หากกลุ่มบุคคลนั้นใช้อำนาจในทางเด็ดขาดเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ก็ต้องเรียกว่าเป็นการปกครอง


ในระบอบอภิชนาธิปไตย (Aristocracy)
       
ค. คนจำนวนมาก หรือคนส่วนใหญ่ในสังคมเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ ซึ่งอริสโตเติลแยกออกเป็นสองระบอบด้วยกัน คือ 


ระบอบประชาธิปไตยแบบกรรมาชีพ (Democracy) 


และ


ระบอบราษฎราธิปไตย (Polity)


อริสโตเติลมองระบอบประชาธิปไตยแบบกรรมาชีพว่าเป็นการปกครองโดยคนจำนวนมาก ซึ่งคนเหล่านี้อาจไม่รู้จักคิดและไม่รู้จักตัดสินใจได้ถูกต้อง และ


ที่สำคัญ คือ การตัดสินปัญหาเป็นไปใน ลักษณะของฝูงชนที่ไม่มีความรับผิดชอบ (mob)
       
ส่วน ระบอบราษฎราธิปไตยนั้น อริสโตเติลเห็นว่าเป็นทางสายกลาง เพราะเป็นการเอาประชาธิปไตย (Democracy) กับคณาธิปไตย (Oligarchy) มารวมกัน ประชาธิปไตยนั้นดีแต่จำนวน แต่การปกครองจะระส่ำระสายง่ายเพราะมวลชนจำนวนมากไม่รู้จักวิธีการปกครอง ส่วนคณาธิปไตยนั้นคนส่วนน้อยปกครองเพื่อประโยชน์พวกพ้อง 


ทางสายกลางก็คือ คนจำนวนมากตรวจตราป้องกันการที่ผู้ปกครองจะใช้อำนาจไม่เป็นธรรม
       

สำหรับในเรื่องของกฎหมายนั้น อริสโตเติลได้พูดถึงหลักนิติธรรม (The Rule of Law) เอาไว้บ่อยครั้ง โดยเห็นว่าเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญที่สุดในรัฐ นอกจากนี้ อริสโตเติลยังได้แยกกฎหมายออกเป็นสองประเภทด้วยกัน คือ 


-กฎหมายที่มนุษย์คิดขึ้น


และ


-กฎหมายตามธรรมชาติ 


โดยได้อธิบายถึงกฎหมายตามธรรมชาติว่าเป็นสิ่งที่มีอยู่โดยธรรมชาติของมัน เช่น ห้ามฆ่ากัน ห้ามลักทรัพย์ ฯลฯ



ในยุคโรมัน หลังจากนครรัฐของกรีกเสื่อมลง กรุงโรมซึ่งเกิดจากการรวมตัวของกลุ่มนักรบหลายกลุ่มก็ได้แผ่ขยายอาณาจักรออกไปกว้างจนกลายเป็นจักรวรรดิ์โรมันที่ยิ่งใหญ่ อารายธรรมของโรมันรุ่งเรืองมากโดยเฉพาะในด้านความคิดทางกฎหมายและทางการปกครองในยุคต้นๆ ก่อนคริสตกาล อาณาจักรของโรมันประกอบด้วยชนสองชั้น คือ 


1. ชนชาวโรมันที่เรียกว่า Patrician อันเป็นชนชั้นปกครองและมีสิทธิ มีเสียงในการปกครอง กับ


2. พวกสามัญชนที่เรียกว่า Plebeian อันเป็นชนชั้นที่ถูกปกครองและไม่มีสิทธิมีเสียงในการปกครอง 




สำหรับกฎหมายที่ใช้ในอาณาจักรโรมันนั้น แบ่งออกเป็น 


1. Jus Civile อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับกับพลเมืองชาวโรมัน 


และ 


2. Jus Gentium อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับกับสามัญชนและคนต่างด้าวที่มิได้มีฐานะเป็นพลเมืองชาวโรมัน 


กฎหมายทั้งสองประเภทนี้ไม่ได้บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรมีแต่ชนชั้นปกครองเท่านั้นที่รู้ 


ต่อมาในปี 452 ก่อนคริสตกาล จึงได้มีการนำเอากฎหมายที่ใช้กันอยู่นี้มาบันทึกลงบนแผ่นทองแดงรวม 12 แผ่น แล้วเอาไปตั้งไว้กลางเมืองเพื่อให้ประชาชนรู้โดยเรียกกฎหมายนี้ว่า 


กฎหมายสิบสองโต๊ะ (Law of Twelve Tables) 








ซึ่งถือได้ว่าเป็นครั้งแรกที่มีการรวบรวมกฎหมายขึ้นและเป็นครั้งแรกที่มีการนำเอาจารีตประเพณีมาบันทึกเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษร และเป็นการเริ่มต้นยอมรับว่ากฎหมายเป็นสิ่งที่จะต้องเปิดเผยให้ทุกคนได้รับรู้ กฎหมายสิบสองโต๊ะแยกมีรายละเอียด ดังนี้
       
โต๊ะที่ 1-3      การพิจารณาความแพ่งและการบังคับคดี
       
โต๊ะที่         อำนาจของบิดาในฐานะหัวหน้าครอบครัว
       
โต๊ะที่ 5-7      การใช้อำนาจปกครอง การรับมรดก ทรัพย์สิน
       
โต๊ะที่ 8         การละเมิดและการกระทำความผิดทางอาญา
       
โต๊ะที่         กฎหมายมหาชน
       
โต๊ะที่ 10       กฎหมายศักดิ์สิทธิ์ (ศาสนา)
       
โต๊ะที่ 11-12  กฎหมายอื่นๆ รวมทั้งกฎหมายว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นปกครองกับชนชั้นที่ถูกปกครอง
       
เมื่อพิจารณาจากกฎหมายสิบสองโต๊ะแล้ว จะเห็นได้ว่า ในยุคโรมันนี้กฎหมายมีอยู่ 3 ประเภทด้วยกัน คือ
ก.กฎหมายเอกชน (Jus Privatum) ได้แก่ กฎหมายทั้งหลายที่เกี่ยวพันกับราษฎรทุกคน
       ในชีวิตประจำวัน
       
ข.กฎหมายมหาชน (Jus Publicum) ได้แก่ กฎหมายที่เกี่ยวข้องเฉพาะบุคคลบางประเภท    เช่น สมาชิกสภา ศาล และกฎหมายเกี่ยวกับกิจการทางการเมืองการปกครอง


ค.กฎหมายศักดิ์สิทธิ์ (Jus Sacrum) ได้แก่ กฎหมายที่พระใช้ในหมู่พระ ซึ่งถือว่าเป็นสังคมต่างหากอีกสังคมหนึ่ง


       
หลังจากที่ชาวโรมันใช้กฎหมายสิบสองโต๊ะมาร่วมพันปี ก็มีปัญหาเกิดขึ้นมากมายเพราะกฎหมายนี้มีเนื้อหาไม่ครอบคลุมมาก เมื่อเกิดข้อพิพาทขึ้น ลูกขุนก็จะนำไปปรึกษาบรรดานักปราชญ์ ซึ่งก็เกิดการให้ความเห็นที่ขัดแย้ง ในปี ค.ศ.426 จักรพรรดิโรมันจึงได้ออกกฎหมายชื่อ The Law of Citations ซึ่งกำหนดให้ถือหลักว่าความเห็นของนักปราชญ์ซึ่งได้รับการยกย่องในขณะนั้น 5 ท่าน เป็นความเห็นที่ถูกต้อง แต่ถ้าในปัญหาใดปราชญ์ทั้ง 5 เห็นไม่ตรงกัน ก็ให้ถือเอาความเห็นของฝ่ายข้างมากเป็นเกณฑ์ ในเวลาต่อมาหลักกฎหมายโรมันที่เกิดจากความเห็นของนักปราชญ์จึงมีมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เกิดความสับสนแก่ผู้เรียนและผู้ใช้เป็นอันมาก 





ดังนั้น ในสมัยของพระเจ้าจัสติเนียน (Justinian) พระองค์จึงทรงตั้งคณะกรรมการขึ้นสะสางและรวบรวมหลักกฎหมายต่างๆ ที่ใช้อยู่เพื่อจัดทำเป็นประมวลกฎหมายเรียกว่า Corpus Juris Civilis ซึ่งถือได้ว่าเป็นประมวลกฎหมายเอกชน ประมวลกฎหมายนี้ทำให้กฎหมายเอกชนชัดเจนขึ้นและแยกตัวเองออกจากกฎหมายมหาชนได้เกือบเด็ดขาด
       

ในปี ค.ศ. 476 พวกบาบาเรียน (Barbarian) บุกเข้าโจมตีกรุงโรมจนแตก ทำให้จักรวรรดิโรมันเสื่อมอำนาจลง จึงพลอยทำให้แนวความคิดทางด้านกฎหมายต่างๆ ของชาวโรมันเสื่อมไปด้วย 


เพราะว่าก่อนที่จักรวรรดิโรมันจะเสื่อมลง คริสตศาสนาได้แพร่หลายเข้ามามาก จนทำให้คนหันไปหาพระเพื่อช่วยชี้ขาดปัญหาบางประการ นอกจากนี้ 


กฎหมายโรมันก็ยุ่งยากเกินกว่าที่พวกบาบาเรียนจะเข้าใจ พวกบาบาเรียนนี้มีความเป็นอยู่ง่ายๆ ทำการปกครองตนเองในรูปของเผ่า แต่ละเผ่าต่างก็มีขนบธรรมเนียมและจารีตประเพณีประจำเผ่าของตน มีศาลประจำหมู่บ้าน ในระยะแรกแนวความคิดทางด้านกฎหมายของชาวโรมันยังไม่เป็นที่ยอมรับของพวกนี้ 


แต่ต่อมาก็ได้มีการพัฒนาระบบการปกครองขึ้นเรื่อยๆ มีการตั้ง 


Curis Regis หรือ สภาที่ปรึกษาของกษัตริย์


ขึ้นเพื่อให้คำแนะนำกับกษัตริย์ในเรื่องต่างๆ รวมทั้งเรื่องการออกหมายและการพิจารณาคดี แต่อย่างไรก็ตาม ในยุคนั้นยังไม่มีกฎหมายประจำชาติ แต่ละท้องถิ่นแต่ละเผ่าต่างก็ใช้กฎหมายประเพณีท้องถิ่นของตน
       


ในคริสตศตวรรษที่ 11 ได้มีการฟื้นฟูกฎหมายโรมันขึ้นมาใหม่ โดยเริ่มมีการนำเอากฎหมายโรมันมาศึกษากันบ้างในมหาวิทยาลัยบางแห่งในยุโรป 


ต่อมาในช่วงคริสตศวรรษที่ 12-13 นักบุญโทมัส อไควนัส (Saint Thomas Aquinas) 
พระชาวอิตาเลียนซึ่งเป็นนักปราชญ์ทางกฎหมายคนสำคัญในยุคนั้น ได้แบ่งประเภทของกฎต่างๆ ออกเป็น 4 ประเภท คือ
      
       -    กฎนิรันดร (Eternal Law) เป็นกฎสูงสุดซึ่งพระผู้เป็นเจ้าได้กำหนดขึ้น
       -    กฎธรรมชาติ (Natural Law) เป็นกฎว่าด้วยเหตุผล คุณธรรม ความยุติธรรม
       -    กฎศักดิ์สิทธ์ (Devine Law) เป็นกฎว่าด้วยหลักประพฤติปฏิบัติทางศาสนา
       -    กฎหมายของมนุษย์ (Human Law) เป็นกฎซึ่งกำหนดหลักประพฤติปฏิบัติของมนุษย์
       
จากการแบ่งประเภทของกฎหมายต่างๆ ตามแนวนี้ จะเห็นได้ว่า ผู้แบ่งได้เน้นให้คริสตจักรมี
       
ความสำคัญกว่าอาณาจักร คริสตจักรเป็นผู้นำ อาณาจักรเป็นผู้ตาม ด้วยเหตุนี้ กษัตริย์ในยุโรปสมัยนั้นจึงต้องคุกเข่าต่อหน้าพระสันตปาปา เพื่อให้พระองค์ประทานพรและสวมมงกุฎให้เมื่อได้รับแต่งตั้งเป็นกษัตริย์
      
การฟื้นฟูแนวความคิดทางกฎหมายในยุโรปช่วงนี้เป็นผลมาจากบทบาทอันสำคัญของมหาวิทยาลัยต่างๆ ในยุโรปซึ่งส่วนใหญ่แล้วสอนกฎหมายโรมันเป็นหลัก และมีกฎหมายศาสนา (Canonic Law) เป็นส่วนประกอบ เพราะไม่มีประโยชน์ที่จะสอนจารีตประเพณีที่ล้าหลังและไม่เป็นธรรม จนกระทั่งในคริสตศตวรรษที่ 17และ18 จึงได้เริ่มมีการเรียนการสอนกฎหมายประจำชาติของตนในมหาวิทยาลัยต่างๆ
       


นักปราชญ์ชาวฝรั่งเศสที่มีบทบาทสำคัญคนหนึ่ง คือ ฌอง โบแดง (Jean Bodin) 


โบแดง (ค.ศ. 1529-1596) เป็นเจ้าของทฤษฎีว่าด้วย 


ความมีอำนาจสูงสุดของกษัตริย์ (The Supremacy of King)


ในสมัยนั้นกษัตริย์ฝรั่งเศสต้องต่อสู้กับทฤษฎีว่าด้วยความมีอำนาจสูงสุดของพระผู้เป็นเจ้า (The Supremacy of God) กับฝ่ายศาสนา โบแดง


จึงคิดทฤษฎีนี้ขึ้นมาเพื่อลดอำนาจของพระสันตปาปาและเพิ่มอำนาจของกษัตริย์ 


ทฤษฎีว่าด้วยความมีอำนาจสูงสุดของกษัตริย์หรือที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า 


ทฤษฎีว่าด้วยอำนาจอธิปไตย (Theory of Sovereignty) 


นี้มีหลักอยู่ว่าอำนาจอธิปไตย คือ 


อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศและอำนาจอธิปไตยก็เป็นของรัฐ ผู้ใช้อำนาจอธิปไตยควรเป็นกษัตริย์ เพราะเป็นประมุขของรัฐ เป็นผู้นำราษฎรและทรงเป็นรัฏฐาธิปัตย์ คือ ผู้มีอำนาจสูงสุดในแผ่นดิน สามารถออกคำสั่งให้ราษฎรปฏิบัติตามได้แต่ไม่อยู่ใต้คำสั่งใคร 


การปกครองของฝรั่งเศสในสมัยต่อมาจึงตกอยู่ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ กษัตริย์เป็นผู้ใช้อำนาจทุกอย่างของรัฐ เป็นผู้ตรากฎหมาย เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารภายในประเทศ และเป็นผู้เสริมสร้างความสัมพันธ์กับต่างประเทศ ทรงควบคุมด้านการคลัง การทหาร และกฎหมาย 


จนกระทั่งเกิดการปฏิวัติครั้งสำคัญในปี ค.ศ. 1789 ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ จึงสิ้นสุดลง
       
ในคริสตศตวรรษที่ 16 กฎหมายมหาชนเริ่มกลับมาแพร่หลายขึ้นและรุ่งเรืองมากขึ้นใน 


คริสตวรรษที่ 18-20 ซึ่งมีการฟื้นฟูการศึกษากฎหมายโรมัน โดยมีการผสมความคิดระหว่าง


ปรัชญากฎหมายธรรมชาติ (Natural Law) 


กับ


ปรัชญากฎหมายฝ่ายบ้านเมือง (Positive Law) 


มีการจัดทำกฎหมายมหาชน คือ รัฐธรรมนูญขึ้น นักปราชญ์คนสำคัญในสมัยนี้อีกคนหนึ่งก็คือ 


มงเตสกิเออ (Montesquieu) 




มงเตสกิเออ (ค.ศ. 1689-1755) ได้เขียนหนังสือชื่อ 


เจตนารมณ์แห่งกฎหมาย” (L’Esprit des lois) 


โดยพูดถึงเรื่อง


-รัฐธรรมนูญ 
-ความสำคัญของระบอบการปกครองภายใต้รัฐธรรมนูญและ
-หลักการแบ่งแยกอำนาจทั้งสาม 


คือ 
   - อำนาจในการตรากฎหมาย 
   - อำนาจในการปฏิบัติการให้เป็นไปตามมติมหาชน และ
   - อำนาจในการพิจารณาพิพากษาผู้กระทำผิดทางอาญา หรือพิพากษาข้อพิพาทระหว่างเอกชน 


ความเห็นของมงเตสกิเออนี้ถือว่าเป็นรากฐานในการแบ่งแยกการใช้


-อำนาจนิติบัญญัติ 
-อำนาจบริหาร และ
-อำนาจตุลาการ


ของหลายๆ ประเทศในเวลาต่อมา 


นอกจากมงเตสกิเออแล้วก็ยังมี 


ฌอง ฌ๊าก รุสโซ (Jean Jacques Rousseau) 




รุสโซ (ค.ศ. 1712-1778) เป็นนักปราชญ์ที่สำคัญอีกคนหนึ่ง รุสโซเขียนหนังสือชื่อ


สัญญาประชาคม” (Le Contrat Social) 


ซึ่งมีอิทธิพลต่อแนวความคิดและการพัฒนากฎหมายมหาชนเป็นอันมาก 



รุสโซเห็นว่า 


รัฐนั้นเกิดจากคนหลายคนมารวมกันและเสียสละสิทธิและเสรีภาพบางประการเพื่อประโยชน์ส่วนรวม 


นอกจากนี้ รุสโซยังเป็นเจ้าของทฤษฎีที่ว่า 


อำนาจอธิปไตยควรเป็นของชาติหรือของประชาชน 


รวมทั้งยังได้ให้คำจำกัดความของคำว่ากฎหมายเอาไว้ด้วยว่า 


กฎหมาย คือ เจตจำนงของประชาชนในชาติซึ่งแสดงออกร่วมกัน 



ทฤษฎีของรุสโซ มีอิทธิพลต่อฝรั่งเศสมาก เมื่อเกิดการปฏิวัติในปี ค.ศ.1789 ขึ้น 


 ก็ได้มีการเอาความคิดของรุสโซไปใส่ไว้ใน



ปฏิญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Declaration des droits de l’homme)


ว่าอำนาจอธิปไตยทุกชนิดเป็นของชาติ องค์กรใดหรือบุคคลใดจะใช้อำนาจหน้าที่ที่ไม่ได้มาจากชาติไม่ได้
       
หลังจากการปฏิวัติในปี ค.ศ. 1789 ฝรั่งเศสได้ใช้รัฐธรรมนูญหลายฉบับโดยได้


ทดลองใช้ระบบการเมืองหลายรูปแบบตามแนวความคิดที่นักปราชญ์ได้เผยแพร่เอาไว้ 


ต่อมาฝรั่งเศสก็ได้มีการจัดทำประมวลกฎหมายขึ้น 


นโปเลียน โบนาปาร์ต (Napoleon Bonaparte) 



ได้จัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อจัดทำประมวลกฎหมายแพ่งขึ้น โดยยึดหลักการของการปฏิวัติฝรั่งเศส คือ 


1. เสรีภาพ 
2. เสมอภาค แล
3. ภราดรภาพ 


- หลักความศักดิ์สิทธิ์แห่งการแสดงเจตนาในการทำสัญญา 
รวมทั้ง
- หลักความศักดิ์สิทธิ์ของทรัพย์สินของเอกชน 


ประมวลกฎหมายนี้สำเร็จในปี ค.ศ. 1804 นอกจากประมวลกฎหมายนี้แล้ว ต่อมาก็มีการตราประมวลกฎหมายอื่นๆ อีกหลายฉบับ
       
นอกจากการจัดทำประมวลกฎหมายแล้ว นโปเลียนยังได้จัดตั้ง


สภาแห่งรัฐ (Conseil d’Etat) ขึ้นในปี ค.ศ.1799



โดยกำหนดให้สภาแห่งรัฐทำหน้าที่ร่างกฎหมายให้กับหัวหน้าของฝ่ายบริหารและเป็นที่ปรึกษาของฝ่ายบริหาร ซึ่งต้องทำหน้าที่พิจารณาข้อพิพาททางปกครอง และเสนอคำวินิจฉัยให้ นโปเลียนพิจารณาสั่งการตามแต่จะเห็นสมควรด้วย 


จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1872 หลังจากที่สภาแห่งรัฐได้พัฒนาระบบวิธีการพิจารณาคดีปกครองขึ้นมาจนเป็นที่ยอมรับ 



จึงได้รับมอบอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องให้ฝ่ายบริหารเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด ซึ่งทำให้สภาแห่งรัฐกลายเป็น ศาลปกครอง และเป็นแบบอย่างให้หลายๆ ประเทศในโลกปฏิบัติตาม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น