ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช : การสรรหาวุฒิสมาชิก : วิธีคิดแบบอมาตยธิปไตย

5/12/52

รศ.ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

แม้ว่าผลการสรรหา ส.ว.จะออกมาเรียบร้อยแล้วก็ตาม แต่ก็มีประเด็นที่สมควรจะตั้งเป็นข้อสังเกตบางประการเพื่อเป็นข้อมูลในการแก้ไขรัฐธรรมนูญต่อไป

เป็นที่ทราบกันดีว่า รัฐธรรมนูญ 2550 ได้เปลี่ยนแปลงที่มาของ ส.ว.จากรัฐธรรมนูญ 2540

ที่กำหนดให้ ส.ว.มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชนมาเป็นระบบผสมคือส่วนหนึ่งมาจากการเลือกตั้งจังหวัดละหนึ่งคน และอีกส่วนหนึ่งมาจาการสรรหาจากคณะกรรมการสรรหา

การกำหนดให้ ส.ว.มาจากการสรรหานั้น

เข้าใจเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้นอกจากการคิดว่า การเลือกตั้ง ส.ว.ที่แล้วมา โดยเฉพาะต่างจังหวัดทางภาคอีสาน-เหนือนั้นมีการซื้อเสียง

ซึ่งการซื้อเสียงโดยตัวมันเองกำลังบ่งบอกเป็นนัยว่า ผู้เลือกนั้น “ยากจน” ทำให้ง่ายต่อการถูกซื้อเสียงและ “ไม่มีการศึกษา” ซึ่งมีผลต่อการใช้วิจารณญาณในการเลือกผู้สมัคร ส.ว. ดังนั้น จึงควรมี “ผู้มีความน่าเชื่อถือมากด้วยคุณธรรม” มาเป็นผู้ใช้วิจารณญาณแทนประชาชน ดังนั้น รัฐธรรมนูญ 2550 จึงตั้งคณะกรรมการสรรหา ส.ว.ขึ้นมา

อย่างไรก็ตาม ระบบการสรรหา ส.ว.นั้น โดยตัวมันเองได้มีปัญหาหลายประการ ดังนี้

1. องค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหา ส.ว.

มาตรา 114 ของรัฐธรรมนูญ 2550 กำหนดให้มีคณะกรรมการสรรหา 7 ท่านซึ่งมาจาก

( มาตรา ๑๑๔
ให้คณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาดำเนินการสรรหาบุคคลที่มี ความเหมาะสมจากผู้ได้รับการเสนอชื่อจากองค์กรต่างๆ ในภาควิชาการ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาชีพ และภาคอื่นที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่ของวุฒิสภาเป็นสมาชิกวุฒิสภา เท่าจำนวน ที่จะพึงมีตามที่กำหนดในมาตรา ๑๑๑ วรรคหนึ่ง


ในการสรรหาบุคคลตามวรรคหนึ่ง ให้คำนึงถึงความรู้ ความเชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์ ที่จะเป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานของวุฒิสภาเป็นสำคัญ และให้คำนึงถึงองค์ประกอบจากบุคคลที่มี ความรู้ความสามารถในด้านต่างๆ ที่แตกต่างกัน โอกาสและความเท่าเทียมกันทางเพศ สัดส่วนของบุคคล ในแต่ละภาคตามวรรคหนึ่งที่ใกล้เคียงกัน รวมทั้งการให้โอกาสกับผู้ด้อยโอกาสทางสังคมด้วย

หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา ให้เป็นไปตาม พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มา ซึ่งสมาชิกวุฒิสภา)

- องค์กรตุลาการทั้ง 3 สถาบันและมาจาก
- ประธานองค์กรอิสระ

ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นนักกฎหมาย คำถามมีว่า ทำไมคณะกรรมการสรรหาต้องประกอบด้วยนักกฎหมายมากมาย (อย่างน้อยมี 3 คนจาก 7 คน) หากมองย้อนหลังกลับไปช่วงปลายรัฐบาลทักษิณเป็นต้นมา สังคมไทยได้รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับ “ตุลาการภิวัฒน์” มีการผลิตซ้ำย้ำไปย้ำมามาโดยตลอดถึงบทบาทความสำคัญของตุลาการในการเข้ามาคลี่คลายปัญหาของประเทศ

จนมีการบิดเบือนเรื่องตุลาการภิวัฒน์ว่าเป็นแนวคิดที่แพร่หลายในต่างประเทศ

แท้จริงแล้ว ความคิดเรื่องตุลาการภิวัฒน์เป็นเรื่องที่ องค์กรตุลาการเข้ามามีบทบาทในการรักษาสิทธิเสรีภาพของประชาชน หรือ ควบคุมตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ โดยผ่านการให้เหตุผลทางกฎหมายตอนวินิจฉัยคดี

แต่มิใช่เป็นเรื่องที่ให้ ตุลาการ หรือ ผู้พิพากษาเข้ามานั่งเป็นกรรมการสรรหา ส.ว. จึงเป็นไปได้ที่คณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญคิด (เอาเอง) ว่า ควรให้ตุลาการและนักกฎหมายเข้าเป็นกรรมการสรรหาเพราะบุคคลเหล่านี้ผ่านกระบวนการคัดเลือกมาระดับหนึ่งแล้ว น่าจะเป็นเครื่องประกันถึงความซื่อสัตย์สุจริตได้

อย่างไรก็ตาม ผู้ร่างลืมคิดไปว่า การคิดให้มีการใช้วิจารณญาณแทนประชาชนโดยกลุ่มบุคคลเพียง 7 คนนั้นเหมาะสมแล้วหรือ ทำไมจึงคิดว่าดุลพินิจของคนเพียง 7 คนจึงดีกว่าดุลพินิจของประชาชนหลายแสนคน อีกทั้ง

พระราชบัญญัติว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2550  มาตรา 130 วรรค 2 กำหนดว่า

( มาตรา ๑๓๐



ในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่ประชุมวุฒิสภา หรือที่ประชุมร่วมกัน ของรัฐสภา สมาชิกผู้ใดจะกล่าวถ้อยคำใดในทางแถลงข้อเท็จจริง แสดงความคิดเห็น หรือออกเสียง ลงคะแนน ย่อมเป็นเอกสิทธิ์โดยเด็ดขาด ผู้ใดจะนำไปเป็นเหตุฟ้องร้องว่ากล่าวสมาชิกผู้นั้นในทางใด มิได้

เอกสิทธิ์ตามวรรคหนึ่งไม่คุ้มครองสมาชิกผู้กล่าวถ้อยคำในการประชุมที่มีการถ่ายทอด ทางวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์ หากถ้อยคำที่กล่าวในที่ประชุมไปปรากฏนอกบริเวณรัฐสภา และการกล่าวถ้อยคำนั้นมีลักษณะเป็นความผิดทางอาญาหรือละเมิดสิทธิในทางแพ่งต่อบุคคลอื่น ซึ่งมิใช่รัฐมนตรีหรือสมาชิกแห่งสภานั้น

ในกรณีตามวรรคสอง ถ้าสมาชิกกล่าวถ้อยคำใดที่อาจเป็นเหตุให้บุคคลอื่นซึ่งมิใช่ รัฐมนตรีหรือสมาชิกแห่งสภานั้นได้รับความเสียหาย ให้ประธานแห่งสภานั้นจัดให้มีการโฆษณาคำชี้แจง ตามที่บุคคลนั้นร้องขอตามวิธีการและภายในระยะเวลาที่กำหนดในข้อบังคับการประชุมของสภานั้น ทั้งนี้ โดยไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของบุคคลในการฟ้องคดีต่อศาล

เอกสิทธิ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรานี้ ย่อมคุ้มครองไปถึงผู้พิมพ์และผู้โฆษณารายงาน การประชุมตามข้อบังคับของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือรัฐสภา แล้วแต่กรณี และคุ้มครอง ไปถึงบุคคลซึ่งประธานในที่ประชุมอนุญาตให้แถลงข้อเท็จจริง หรือแสดงความคิดเห็นในที่ประชุม ตลอดจนผู้ดำเนินการถ่ายทอดการประชุมสภาทางวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์ที่ได้รับอนุญาต จากประธานแห่งสภานั้นด้วยโดยอนุโลม )

มติในการสรรหาต้องมีคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการสรรหาเท่าที่มีอยู่

ก็หมายความว่า ผู้ที่จะได้รับการสรรหาเป็น ส.ว. (ซึ่งรัฐธรรมนูญมาตรา 122 กำหนดว่า

( มาตรา ๑๒๒



สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาย่อมเป็นผู้แทนปวงชน ชาวไทย โดยไม่อยู่ในความผูกมัดแห่งอาณัติ มอบหมาย หรือความครอบงำใดๆ และต้องปฏิบัติหน้าที่ ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทย โดยปราศจากการขัดกันแห่ง ผลประโยชน์ )


“สมาชิกวุฒิสภาย่อมเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย”) ก็สามารถเป็นผู้แทนประชาชนได้ แม้จะได้รับคะแนนเสียงเพียง 4 เสียงก็ตาม และ

เมื่อได้รับการคัดเลือกแล้ว ส.ว.ประเภทนี้ก็มีอำนาจหน้าที่ดุจเดียวกับ ส.ว.ที่มาจาการคัดเลือกโดยประชาชน

คำถามมีว่า

- ส.ว.แบบสรรหานั้น เป็นผู้แทนปวงชนชาวไทยอย่างไร และ

- ส.ว. ที่มาจาการสรรหานั้นกลับมีอำนาจถอดถอนบุคคลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน เช่น นายกรัฐมนตรี ส.ส.และ ส.ว.

ซึ่งกรณีของการถอดถอน ส.ว.ด้วยกันเองนั้นคงเป็นเรื่องพิกลที่ ส.ว.แบบสรรหาสามารถถอดถอน ส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนได้

2. เกณฑ์ในการสรรหา

ปัญหาต่อไปก็คือ เกณฑ์ในการพิจารณาสรรหา ในรัฐธรรมนูญมาตรา 114 วรรคสอง บัญญัติว่า

( มาตรา ๑๑๔



ให้คณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาดำเนินการสรรหาบุคคลที่มี ความเหมาะสมจากผู้ได้รับการเสนอชื่อจากองค์กรต่างๆ ในภาควิชาการ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาชีพ และภาคอื่นที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่ของวุฒิสภาเป็นสมาชิกวุฒิสภา เท่าจำนวน ที่จะพึงมีตามที่กำหนดในมาตรา ๑๑๑ วรรคหนึ่ง

ในการสรรหาบุคคลตามวรรคหนึ่ง ให้คำนึงถึงความรู้ ความเชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์ ที่จะเป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานของวุฒิสภาเป็นสำคัญ และให้คำนึงถึงองค์ประกอบจากบุคคลที่มี ความรู้ความสามารถในด้านต่างๆ ที่แตกต่างกัน โอกาสและความเท่าเทียมกันทางเพศ สัดส่วนของบุคคล ในแต่ละภาคตามวรรคหนึ่งที่ใกล้เคียงกัน รวมทั้งการให้โอกาสกับผู้ด้อยโอกาสทางสังคมด้วย

หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา ให้เป็นไปตาม พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มา ซึ่งสมาชิกวุฒิสภา )

ในการสรรหา ให้คำนึงถึง ความรู้ ความเชี่ยวชาญหรือประสบการณ์ ความเท่าเทียมทางเพศ ปัญหาคือเกณฑ์การสรรหานั้นคลุมเครือ เปิดช่องให้คณะกรรมการสรรหา ส.ว.ใช้ดุลพินิจมากไป

ไม่มีแนวทางที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมว่า การค้นหาความรู้ ความเชี่ยวชาญหรือประสบการณ์นั้นพิจารณาจากอะไร

ยิ่งไปกว่านั้น ในกฎหมายการเลือกตั้งและการสรรหา ส.ว. มาตรา 130 วรรคแรก
( มาตรา ๑๓๐



ในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่ประชุมวุฒิสภา หรือที่ประชุมร่วมกัน ของรัฐสภา สมาชิกผู้ใดจะกล่าวถ้อยคำใดในทางแถลงข้อเท็จจริง แสดงความคิดเห็น หรือออกเสียง ลงคะแนน ย่อมเป็นเอกสิทธิ์โดยเด็ดขาด ผู้ใดจะนำไปเป็นเหตุฟ้องร้องว่ากล่าวสมาชิกผู้นั้นในทางใด มิได้

เอกสิทธิ์ตามวรรคหนึ่งไม่คุ้มครองสมาชิกผู้กล่าวถ้อยคำในการประชุมที่มีการถ่ายทอด ทางวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์ หากถ้อยคำที่กล่าวในที่ประชุมไปปรากฏนอกบริเวณรัฐสภา และการกล่าวถ้อยคำนั้นมีลักษณะเป็นความผิดทางอาญาหรือละเมิดสิทธิในทางแพ่งต่อบุคคลอื่น ซึ่งมิใช่รัฐมนตรีหรือสมาชิกแห่งสภานั้น

ในกรณีตามวรรคสอง ถ้าสมาชิกกล่าวถ้อยคำใดที่อาจเป็นเหตุให้บุคคลอื่นซึ่งมิใช่ รัฐมนตรีหรือสมาชิกแห่งสภานั้นได้รับความเสียหาย ให้ประธานแห่งสภานั้นจัดให้มีการโฆษณาคำชี้แจง ตามที่บุคคลนั้นร้องขอตามวิธีการและภายในระยะเวลาที่กำหนดในข้อบังคับการประชุมของสภานั้น ทั้งนี้ โดยไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของบุคคลในการฟ้องคดีต่อศาล

เอกสิทธิ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรานี้ ย่อมคุ้มครองไปถึงผู้พิมพ์และผู้โฆษณารายงาน การประชุมตามข้อบังคับของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือรัฐสภา แล้วแต่กรณี และคุ้มครอง ไปถึงบุคคลซึ่งประธานในที่ประชุมอนุญาตให้แถลงข้อเท็จจริง หรือแสดงความคิดเห็นในที่ประชุม ตลอดจนผู้ดำเนินการถ่ายทอดการประชุมสภาทางวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์ที่ได้รับอนุญาต จากประธานแห่งสภานั้นด้วยโดยอนุโลม )


บัญญัติให้ผลการพิจารณาของคณะกรรมการสรรหาถือเป็นที่สุด นั่นหมายความว่า ประชาชนจะร้องคัดค้านการใช้ดุลพินิจของคณะกรรมการสรรหาไม่ได้ หากเปรียบเทียบกับการพิจารณาคดีของศาลแล้ว กฎหมายยังเปิดช่องให้มีการอุทธรณ์ ฎีกาได้ แต่การพิจารณาสรรหา ส.ว.ซึ่งมีอำนาจมากมายกลับเขียนว่าผลการสรรหานั้นให้เป็นที่ยุติ

3. การร้องคัดค้าน

มีข้อสังเกตว่า แม้กฎหมายจะเปิดช่องให้มีการร้องคัดค้านได้ก็ตาม แต่การร้องคัดค้านนี้ก็มีปัญหาในตัวมันเองอีกเหมือนกัน ดังนี้

1) การจำกัดผู้ร้องคัดค้าน

เนื่องจากระบบสรรหา ส.ว.เป็นระบบที่ไม่เกี่ยวข้องกับประชาชนโดยทั่วไป ดังนั้น กฎหมายการเลือกตั้งและสรรหา ส.ว. จึงจำกัดผู้ร้องคัดค้านว่ามีได้เฉพาะบุคคลสองประเภทคือ ตัวผู้ได้รับการเสนอชื่อและสมาชิกขององค์กรที่เสนอชื่อเท่านั้นที่จะยื่นคำร้องคัดค้านได้

2) เหตุที่จะร้องคัดค้าน

เหตุที่จะร้องคัดค้านนั้น กฎหมายจำกัดเฉพาะขั้นตอนการสรรหาที่ “ไม่ถูกต้อง” หรือ “ไม่ชอบด้วยกฎหมาย” ซึ่งก็มีความหมายไม่ชัดเจนว่าหมายความว่าอย่างไร กรณีเช่นว่านี้ ศาลฎีกาก็จะทำการไต่สวนและวินิจฉัย และหากเห็นว่า การสรรหานั้นมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ก็ให้มีการสรรหาใหม่ ปัญหาก็คือ การร้องคัดค้านที่ว่านี้ จำกัดเฉพาะขั้นตอนการสรรหาที่มิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม แต่จะร้องคัดค้านการใช้ดุลพินิจของคณะกรรมการสรรหาว่าใช้ดุลพินิจไม่เหมาะสมมิได้

เพราะว่า กฎหมายเขียนว่า การใช้ดุลพินิจของคณะกรรมการสรรหานั้นเป็นที่สุด ดังนั้น หากมีร้องคัดค้านเกี่ยวกับความประพฤติที่ไม่เหมาะสมของผู้ได้รับการเสนอชื่อบางท่านในเวลานี้ที่มีการร้องคัดค้านว่า ยังค้างชำระหนี้เงินตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นนั้น ก็ยังมีปัญหาให้ตีความว่าทำได้หรือไม่เพียงใด


ปัญหาก็คือประชาชนไม่อาจร้องคัดค้านการใช้ดุลพินิจของคณะกรรมการสรรหาที่เลือก ส.ว.ทั้งๆ ที่ ว่าที่ ส.ว.ท่านหนึ่งมีปัญหาด้านจริยธรรมแล้ว เพราะไม่ยอมจ่ายเงินตามคำพิพากษา อีกทั้งยังเป็น สนช. ที่มาจากการแต่งตั้งของคณะรัฐประหารด้วย

แม้ว่าเลขาธิการ กกต.ออกมาชี้แจงว่า ขอให้เคารพดุลพินิจของคณะกรรมการสรรหาและโทษทางแพ่งนั้นไม่มีผลกระทบต่อคุณสมบัติของการเป็น ส.ว.นั้น เป็นคำชี้แจงที่ไม่มีเหตุผลรองรับ ในระยะเวลาร่วมสองปีที่สังคมไทยเชิดชูประเด็นคุณธรรมจริยธรรมมาโดยตลอด แต่คราวนี้ทำไมคณะกรรมการสรรหาจึงไม่ตรวจสอบความประพฤติให้ดีเสียก่อน ส่วนข้อเรียกร้องให้ประชาชนเคารพการใช้ดุลพินิจของคณะกรรมการสรรหานั้น

ก็คงต้องถามกลับว่า แล้วทำไมผู้ร่างรัฐธรรมนูญไม่เคารพอำนาจอธิปไตยซึ่งเป็นของประชาชน ยิ่งไปกว่านั้น พอคราวประชาชนเลือก ส.ว.ไม่ดี หรือมีปัญหา ก็มีแรงวิจารณ์ด่าว่าดุลพินิจของประชาชนอย่างมากมายว่าเลือกคนไม่ดีเข้าสภา

แต่พอคราวนี้คณะกรรมการสรรหาคัดเลือกคนมีปัญหาเข้ามา กลับบอกว่าให้ประชาชนเคารพดุลพินิจของคณะกรรมการสรรหา วิธีคิดหรือการให้เหตุผลแบบนี้ นอกจากจะไม่เคารพอำนาจอธิปไตยของประชาชนแล้ว ยังพยายามเรียกร้องมิให้ประชาชนวิพากษ์วิจารณ์ดุลพินิจของคณะกรรมการสรรหาอีกด้วย

3) ปัญหาการทับซ้อนของตำแหน่ง

ตามกฎหมายการเลือกตั้งและการสรรหา ส.ว.มาตรา 133 วรรคสอง บัญญัติ

( มาตรา ๑๔๗ คณะกรรมการการเลือกตั้งต้องดำเนินการสืบสวนสอบสวนเพื่อหาข้อเท็จจริงโดยพลันเมื่อมีกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังต่อไปนี้


(๑) ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ผู้สมัครรับเลือกตั้ง หรือพรรคการเมืองซึ่งมีสมาชิกสมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งใดเขตเลือกตั้งหนึ่ง คัดค้านว่าการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้นเป็นไปโดยไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย

(๒) ปรากฏหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าก่อนได้รับเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ใด ได้กระทำการใด ๆ โดยไม่สุจริตเพื่อให้ตนเองได้รับเลือกตั้ง หรือได้รับเลือกตั้งมาโดยไม่สุจริตโดยผลของการที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดได้กระทำลงไป ทั้งนี้ อันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง หรือกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น

(๓) ปรากฏหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าการออกเสียงประชามติมิได้เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือผู้มีสิทธิเลือกตั้งคัดค้านว่าการออกเสียงประชามติในหน่วยเลือกตั้งใดเป็นไปโดยไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย

เมื่อดำเนินการตามวรรคหนึ่งเสร็จแล้ว คณะกรรมการการเลือกตั้งต้องพิจารณาวินิจฉัยสั่งการโดยพลัน )

ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งดำเนินการสืบสวน หากปรากฏว่า ในการสรรหานั้น ผู้ใดได้กระทำการใดๆ โดยไม่สุจริตเพื่อให้ตนเองได้รับการสรรหาหรือฝ่าฝืนกฎหมายดังกล่าว

ซึ่งหนึ่งในคณะกรรมการสรรหา 7 ท่านนั้น ก็มี

“ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง”

รวมอยู่ด้วย ก็กลายเป็นว่า “ผู้ใช้ดุลพินิจคัดเลือก ส.ว.” เป็นผู้มี “อำนาจสืบสวนสอบสวน” เองด้วย นอกจากนั้น เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งสอบสวนแล้ว และเห็นว่าการสรรหาไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย กฎหมายกำหนดให้ กกต.ยื่นเรื่องให้ศาลฎีกาวินิจฉัย

ซึ่งหนึ่งในคณะกรรมการสรรหา ส.ว. นั้น ก็มาจาก

“ผู้พิพากษาในศาลฎีกาที่ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกามอบหมาย”

 แม้จะมีข้ออ้างว่า ผู้พิพากษาศาลฎีกาที่ทำหน้าที่สรรหากับผู้พิพากษาศาลฎีกาที่ทำหน้าที่วินิจฉัยนั้นเป็นคนละคนกัน

แต่ในแง่ของหลักการแล้ว ก็ไม่ควรให้บุคลากรที่มาจากองค์กรเดียวกันทำหน้าที่สองตำแหน่งที่มาเกี่ยวข้องกัน

บทส่งท้าย

การออกแบบให้ ส.ว.มาจากการใช้ดุลพินิจของกลุ่มบุคคลที่ประกอบด้วยตุลาการและนักกฎหมาย

แทนที่จะมาจากการเลือกตั้งโดยประชาชนนั้น เป็นแนวคิดเดิมๆ แบบจารีตนิยมหรือแบบอมาตยาธิปไตยที่คิดว่าบุคคลเหล่านี้มีคุณธรรมและวิจารณญาณดีกว่าประชาชน (ต่างจังหวัด)

วิธีคิดแบบนี้จะไม่เป็นผลดีต่อการเมืองไทยในระยะยาว เพราะทุกสิ่งทุกอย่างจะรวมศูนย์ไว้ที่

“ผู้มากด้วยคุณธรรม”

แต่เอาเข้าจริง ก็ไม่มีใครสามารถอวดอ้างได้ว่าเป็นผู้มีคุณธรรมมากกว่าคนอื่นๆ ถ้าหากคิดว่าประชาชนต่างจังหวัดไม่มีวิจารณญาณเพียงพอแล้ว ก็น่าจะเสนอให้มี

“สภาจริยธรรมแห่งชาติ”

แล้วให้สภานี้ทำหน้าที่คัดเลือกทั้ง ส.ส.และ ส.ว.แทนประชาชนไปเลย

ผู้เขียนมั่นใจว่า ส.ว.แบบสรรหาชุดนี้นอกจากจะเป็น “ชุดแรก” ของประวัติศาสตร์การเมืองไทยแล้วยังเป็น “ชุดสุดท้าย” อีกเช่นกัน

โดย : ประชาไท วันที่ : 28/2/2551

------------------------------------
เลือก วิรัช ลิ้มชัยกิจ เป็นประธานกรรมการสรรหา ส.ว.


ผู้สื่อข่าวรายงานจากสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ว่า ในวันนี้ (26 ธ.ค.2549) ได้มีการประชุม

คณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.)

เพื่อเลือกประธานกรรมการสรรหาฯ โดยมีกรรมการตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดเข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย


1.นายวิรัช ลิ้มวิชัย ประธานตุลาการรัฐธรรมนูญ


2.นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธาน กกต.


3.พล.อ.ธีรเดช มีเพียร ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน


4.นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ( ป.ป.ช.)

5.นายมนตรี เอี่ยมสะอาด ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา และ

6.นายอำพล สิงหโกวินท์ ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองสูงสุด
ขาดเพียง

7. ประธานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน

ที่ประชุม คัดเลือกให้ นายวิรัช ลิ้มวิชัย ประธานตุลาการรัฐธรรมนูญ เป็นประธานคณะกรรมการสรรหา ส.ว. .-สำนักข่าวไทย

เมื่อ 2007-12-26 16:14:13

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น