ข้อ 3 แพ่ง อาญา 2551

17/4/53
คำถามข้อ 3


บริษัท สมชาย จำกัด เช่ารถยนต์เบนซ์จาก บริษัท สมพงษ์ ลีสซิ่ง จำกัด

เพื่อนำมาใช้ในกิจการของบริษัท ฯ มีกำหนด 5 ปี ตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคม 2546 ถึงวันที่ 6 ตุลาคม 2551

ตกลงชำระค่าเช่าภายในทุกวันที่ 7 ของเดือน ในอัตราค่าเช่าเดือนละ 35,000 บาท

โดย บริษัท สมชาย จำกัด ไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนดการเช่า

แต่ บริษัทสมชาย จำกัด มีสิทธิซื้อรถยนต์ที่เช่าจาก บริษัท สมพงษ์ ลิสซิ่ง จำกัด ในราคาเพียงครึ่งหนึ่งเมื่อครบกำหนดการเช่า

ซึ่งหากต้องการ บริษัทสมชาย จำกัด ต้องแจ้งบอกกล่าวเป็นหนังสือให้ บริษัทสมพงษ์ ลิสซิ่ง จำกัด ทราบก่อนครบกำหนดการเช่าไม่น้อยกว่า 60 วัน

หลังจากทำสัญญาบริษัทสมชาย จำกัด ชำระคาเช่าแก่บริษัทสมพงษ์ ลิสชิ่ง จำกัด ด้วยดีมาโดยตลอด

แต่ ระหว่างสัญญาเช่าเกิดความผันผวนทางเศรษฐกิจโลกทำให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงสูงขึ้นอย่างมาก เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายบริษัทสมชาย จำกัด จึงดัดแปลงเครื่องยนต์รถยนต์ที่เช่าจากระบบใช้น้ำมันเบนซินไปเป็นระบบก๊าช

โดยบริษัทสมพงษ์ ลิสซิ่ง จำกัด ไม่ได้รู้เห็น
ต่อมาเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2551 หลังจากบริษัทสมชาย จำกัด ได้ชำระค่าเช่างวดที่ 58 ให้บริษัทสมพงษ์ ลิสซิ่ง จำกัด รับไปแล้ว รถยนต์ที่เช่าเกิดเพลิงไหม้เนื่องจากความบกพร่องของการติดตั้งระบบก๊าซ
ทำให้รถยนต์ที่เช่าได้รับความเสียหายโดยสิ้นเชิง บริษัทสมชาย จำกัด ไม่ต้องการชดใช้ราคารถยนต์ที่เช่าแก่บริษัทสมพงษ์ ลิสซิ่ง จำกัด

จึงปิดบังไม่แจ้งเหตุดังกล่าวให้ บริษัทสมพงษ์ ลิสซิ่ง จำกัด ทราบ แต่กลับมีหนังสือบอกกล่าวเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2551 ขอซื้อรถยนต์ที่เช่าจากบริษัทสมพงษ์ ลิสซิ่ง จำกัด

จากนั้นได้ชำระค่าเช่าแก่บริษัทสมพงษ์ ลิสซิ่ง จำกัด จนครบกำหนดตามสัญญูาเช่า หลังจากนั้นบริษัทสมชาย จำกัด ได้ทวงถามให้บริษัทสมพงษ์ ลิสซิ่ง จำกัด ดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่เช่าให้ตามสัญญา แต่บริษัทสมพงษ์ ลิสซิ่ง จำกัด ปฏิเสธ

ให้วินิจฉัยว่า

(ก) บริษัทสมพงษ์ ลิสซิ่ง จำกัด ต้องรับผิดต่อบริษัทสมชาย จำกัด หรือไม่ เพียงใด

(ข) บริษัทสมพงษ์ ลิสชิ่ง จำกัด มีสิทธิเรียกร้องจากบริษัทสมชาย จำกัด หรือไม่ เพียงใด





----------------------------

หลักกฎหมาย

ปพพ.มาตรา๕๕๘ การดัดแปลงทรัพย์สินที่เช่า ผู้เช่าต้องแจ้งให้ผู้ให้เช่าทราบและอนุญาตก่อน ถ้าฝ่าฝืนต้องรับผิดในการกระทำ

ปพพ.มาตรา ๕๖๗ สัญญาเช่าเป็นอันระงับจากการที่ทรัพย์สินที่เช่าเสียหายไปหมดหรือสูญหายไป 


จากกรณีปัญหา

๑.บริษัท สมชาย จำกัด ดัดแปลงเครื่องยนต์รถยนต์ที่เช่า จากระบบใช้น้ำมันเบนซินไปเป็นระบบก๊าซ โดย บริษัท สมพงษ์ ลิสซิ่ง จำกัด ไม่ได้รู้เห็น

เป็นการฝ่าฝืน ปพพ.มาตรา ๕๕๘ บริษัท สมชาย จำกัดผู้เช่าต้องรับผิด

๒.รถยนต์ที่เช่าเกิดเพลิงไหม้เนื่องจากความบกพร่อง ของการติดตั้งระบบก๊าซ ทำให้รถยนต์ที่เช่าได้รับความเสียหายโดยสิ้นเชิง

ทำให้สัญญาเช่าระงับตาม ปพพ.มาตรา ๕๖๗

๓.วันที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๕๑ บริษัท สมชาย จำกัด (ผู้เช่า)

ขอซื้อรถยนต์ที่เช่าจาก บริษัท สมพงษ์ ลิสซิ่ง จำกัด(ผู้ให้เช่า) จากนั้นได้ชำระค่าเช่าแก่ บริษัท สมพงษ์ ลิสซิ่ง จำกัด จนครบตามสัญญาเช่า

หลังจากนั้น บริษัท สมชาย จำกัด ได้ทวงถามให้ บริษัท สมพงษ์ ลิสซิ่ง จำกัด ดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่เช่าตามสัญญา

แต่ บริษัท สมพงษ์ ลิสซิ่ง จำกัด ปฎิเสธได้เพราะสัญญาเช่าได้ระงับแล้ว(ตามข้อ ๒)

สรุป

ก)บริษัท สมพงษ์ ลิสซิ่ง จำกัด(ผู้ให้เช่า) ไม่ต้องรับผิดต่อ บริษัท สมชาย จำกัด (ผู้เช่า)

เพราะสัญญาเช่าได้ระงับไปแล้วตั้งแต่รถยนต์ได้เสียหายอย่างสิ้นเชิงเพราะการกระทำของผู้เช่า

(ข)บริษัท สมพงษ์ ลิสซิ่งจำกัด(ผู้ให้เช่า) มีสิทธิเรียกร้องจาก บริษัท สมชาย (ผู้เช่า)จำกัดได้

ในราคารถยนต์ ณ เวลาที่รถยนต์ได้เสียหายไปหมด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น